โครงการ ThinkCycle Bank

ทิ้งแบบหมุนเวียน เพื่อเปลี่ยนโลก

เราเชื่อว่า การหล่อหลอมเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อส่งต่อไปรีไซเคิล จะเป็นรากฐานสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในอนาคต GC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการธนาคารทิ้ง-ไซเคิล ในรูปแบบธนาคารขยะ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก” โดยเริ่มจากในครัวเรือนและโรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งสร้างนิสัยรักการออมผ่านการฝากธนาคารขยะอย่างเป็นระบบ

ขยะรีไซเคิล
0 กิโลกรัม
รายได้
0 บาท

นอกจากโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล (ThinkCycle Bank) จะเปลี่ยนการเก็บ และการคัดแยกขยะให้กลายเป็นเรื่องสนุก และสร้างรายได้สำหรับเด็กๆ แล้ว แต่สิ่งที่มากยิ่งไปกว่านั้นคือ การปลูกฝังพฤติกรรมการคัดแยกขยะ และการอดออมให้กับเด็กๆ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญและขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต

เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก”

GC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล ซึ่งเป็นรูปแบบธนาคารขยะ เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก” โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยเริ่มต้นจากในครัวเรือนและที่โรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ตลอดจนสร้างนิสัยการออมผ่านการฝากธนาคารขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น

GC และมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะรีไซเคิลให้สามารถเข้าสู่กระบวนการอย่างถูกวิธี จึงได้นำหลัก 3R มาประยุกต์เป็นระบบการบริหารจัดการขยะ โดยมุ่งหวังในการคืนชีวิตขยะรีไซเคิลให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง ตลอดจนสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวคิด GC Circular Living โดยการเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชน หรือร้านรับซื้อขยะในพื้นที่ เพื่อรับซื้อขยะรีไซเคิลประเภทต่างๆ อาทิ กระดาษ กระป๋อง ขวดน้ำ พลาสติกชนิดต่างๆ ขวดแก้ว และถุงพลาสติกสะอาด โดยนักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียน นำขยะรีไซเคิลที่ได้จากการรวบรวมและคัดแยก มาที่จุดรับขยะ รีไซเคิล ตามวันและเวลาที่โรงเรียนกำหนด เพื่อชั่งน้ำหนัก ประเมินราคา และจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อ พร้อมนำรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลไปฝากเป็นเงินเข้าสมุดบัญชีโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล ต่อไป โครงการนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ แล้ว ยังถือเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน ด้วยการจำหน่ายขยะให้กับวิสาหกิจชุมชนและผู้รับซื้อในชุมชน เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

จากจุดเริ่มต้นโครงการนำร่อง 12 โรงเรียนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเกาะแก้วพิสดาร โรงเรียนเทศบาล 1 โรงเรียนเทศบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านเพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาสำเภาทอง โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า โรงเรียนวัดมาบชลูด โรงเรียนบ้านหนองแฟบ โรงเรียนวัดตากวน โรงเรียนวัดกรอกยายชา โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 และโรงเรียนวัดมาบข่า

ปัจจุบัน มีโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรีเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 21 โรงเรียน โดยมีผลสำเร็จของการดำเนินโครงการดังนี้

ปี 2562
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

0

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

0 บาท

ปี 2563
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

0

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

0 บาท

ปี 2564
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

0

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

0 บาท

ทั้งนี้ ในปี 2562 GC ได้ดำเนินความร่วมมือกับ บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด (BRUTD) ขยายเครือข่ายโครงการ ThinkCycle Bank ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 (บุรีราฎษร์ดุรุณวิทยา) โรงเรียนเทศบาล 2 (อิสาณธีรวิทยาคาร) และโรงเรียนเทศบาล 3 อีกด้วย

การแก้ไขปัญหาขยะจะสำเร็จได้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน เริ่มต้นที่จุดเล็กๆ ในสถาบันครอบครัวและโรงเรียน โดยหวังว่าความสำเร็จของโครงการนี้จะทำให้มีการพัฒนาต่อยอดไปสู่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการขยะของประเทศต่อไป

ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2564