โครงการ ThinkCycle Bank

ทิ้งแบบหมุนเวียน เพื่อเปลี่ยนโลก

เราเชื่อว่า การหล่อหลอมเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อส่งต่อไปรีไซเคิล จะเป็นรากฐานสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในอนาคต GC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการธนาคารทิ้ง-ไซเคิล ในรูปแบบธนาคารขยะ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก” โดยเริ่มจากในครัวเรือนและโรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งสร้างนิสัยรักการออมผ่านการฝากธนาคารขยะอย่างเป็นระบบ

ขยะรีไซเคิล
กิโลกรัม
รายได้
บาท

นอกจากโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล (ThinkCycle Bank) จะเปลี่ยนการเก็บ และการคัดแยกขยะให้กลายเป็นเรื่องสนุก และสร้างรายได้สำหรับเด็กๆ แล้ว แต่สิ่งที่มากยิ่งไปกว่านั้นคือ การปลูกฝังพฤติกรรมการคัดแยกขยะ และการอดออมให้กับเด็กๆ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญและขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต

เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก”

GC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล ซึ่งเป็นรูปแบบธนาคารขยะ เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ทิ้งแบบหมุนเวียน...เพื่อเปลี่ยนโลก” โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยเริ่มต้นจากในครัวเรือนและที่โรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ตลอดจนสร้างนิสัยการออมผ่านการฝากธนาคารขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น

GC และมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะรีไซเคิลให้สามารถเข้าสู่กระบวนการอย่างถูกวิธี จึงได้นำหลัก 3R มาประยุกต์เป็นระบบการบริหารจัดการขยะ โดยมุ่งหวังในการคืนชีวิตขยะรีไซเคิลให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง ตลอดจนสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวคิด GC Circular Living โดยการเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชน หรือร้านรับซื้อขยะในพื้นที่ เพื่อรับซื้อขยะรีไซเคิลประเภทต่างๆ อาทิ กระดาษ กระป๋อง ขวดน้ำ พลาสติกชนิดต่างๆ ขวดแก้ว และถุงพลาสติกสะอาด โดยนักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียน นำขยะรีไซเคิลที่ได้จากการรวบรวมและคัดแยก มาที่จุดรับขยะ รีไซเคิล ตามวันและเวลาที่โรงเรียนกำหนด เพื่อชั่งน้ำหนัก ประเมินราคา และจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อ พร้อมนำรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลไปฝากเป็นเงินเข้าสมุดบัญชีโครงการธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล ต่อไป โครงการนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ แล้ว ยังถือเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน ด้วยการจำหน่ายขยะให้กับวิสาหกิจชุมชนและผู้รับซื้อในชุมชน เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

จากจุดเริ่มต้นโครงการนำร่อง 12 โรงเรียนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเกาะแก้วพิสดาร โรงเรียนเทศบาล 1 โรงเรียนเทศบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านเพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาสำเภาทอง โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า โรงเรียนวัดมาบชลูด โรงเรียนบ้านหนองแฟบ โรงเรียนวัดตากวน โรงเรียนวัดกรอกยายชา โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 และโรงเรียนวัดมาบข่า

ปัจจุบัน มีโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรีเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 21 โรงเรียน โดยมีผลสำเร็จของการดำเนินโครงการดังนี้

ปี 2562
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

บาท

ปี 2563
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

บาท

ปี 2564
โครงการฯ สามารถจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น

กิโลกรัม

สร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลรวมเป็นเงิน

บาท

ทั้งนี้ ในปี 2562 GC ได้ดำเนินความร่วมมือกับ บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด (BRUTD) ขยายเครือข่ายโครงการ ThinkCycle Bank ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 (บุรีราฎษร์ดุรุณวิทยา) โรงเรียนเทศบาล 2 (อิสาณธีรวิทยาคาร) และโรงเรียนเทศบาล 3 อีกด้วย

การแก้ไขปัญหาขยะจะสำเร็จได้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน เริ่มต้นที่จุดเล็กๆ ในสถาบันครอบครัวและโรงเรียน โดยหวังว่าความสำเร็จของโครงการนี้จะทำให้มีการพัฒนาต่อยอดไปสู่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการขยะของประเทศต่อไป

ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2564