โครงการ CONNEXT ED

สร้างฐานรากที่เข้มแข็งให้ประเทศ ด้วยโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED

เพราะเราเห็นความสำคัญของการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ GC จึงร่วมสนับสนุนโครงการ CONNEXT ED พลังความร่วมมือครั้งสำคัญ ของ 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาที่ยั่งยืน ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล และเชื่อมโยงกลไกเพื่อบูรณาการการศึกษาให้ทั่วถึงและทัดเทียม

การพัฒนาประเทศต้องเริ่มจากการพัฒนาคน การศึกษาจึงเปรียบเสมือนรากฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

GC และกลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปศึกษา และได้มีส่วนร่วมสนับสนุน “โครงการสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี หรือ CONNEXT ED” มิติใหม่ของการแสดงพลังความร่วมมือครั้งสำคัญ ระหว่าง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาที่ยั่งยืน ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล และเชื่อมโยงกลไกเพื่อบูรณาการการศึกษาให้ทั่วถึงและทัดเทียม

โครงการ CONNEXT ED มุ่งพัฒนาและสร้างเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาโรงเรียนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน และยังเป็นหนึ่งในโครงการที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศใน 3 ด้าน คือ การลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคุณภาพคน และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs)

โครงการมีการดำเนินงานภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการศึกษา ดังนี้

1.
Transparency การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management System บน connexted.org เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำไปวิเคราะห์ ประเมินผลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างตรงจุด

2.
Market Mechanisms กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม

การดำเนินงานผ่าน “School Partner” หรือผู้นำรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง (Action Learning) ร่วมจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและชุมชน และจัดการตามแผนพัฒนาที่วางไว้จนเกิดผลเป็นรูปธรรม

3.
High Quality Principals & Teachers การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน

การยกระดับคุณภาพผู้บริหารและครูอย่างมืออาชีพ พร้อมพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อช่วยให้เกิดการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

4.
Child Centric & Curriculum เด็กเป็นศูนย์กลาง

เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ ให้เด็กสามารถค้นพบกระบวนการเรียนรู้ รู้จักแสวงหาความรู้ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5.
Digital Infrastructures การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา

สร้างโอกาสให้โรงเรียนและชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากทั่วโลกได้อย่างทัดเทียม ผ่านระบบดิจิทัล

การดำเนินโครงการในระยะแรกมีโรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 3,342 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยมีโรงเรียนประชารัฐที่อยู่ในความดูแลของ GC ทั้งหมด 10 โรงเรียน แบ่งเป็นพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนห้วยยางศึกษา โรงเรียนวัดเนินเขาดิน โรงเรียนบ้านหนองแฟบ โรงเรียนวัดมาบชลูด โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม และโรงเรียนวัดกระเฉท และพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขจรทรัพย์อำรุง โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาทำ โรงเรียนวัดอู่ข้าว และโรงเรียนวัดตะวันเรือง พร้อมกันนี้ GC ได้จัดส่งบุคลากรจากหน่วยงาน CSR ทำหน้าที่เป็น School Partner และบุคลากรในสายงานอื่นๆ ของ GC ร่วมประสานงานและดูแลอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูล ณ เมษายน 2564