18 กุมภาพันธ์ 2562

Bangkok Design Week 2019: ต่อยอดไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลกเพื่อตอบโจทย์อนาคตด้วยการแต่งแต้มความสร้างสรรค์ให้ย่านเก่าเจริญกรุง

แชร์:

กลับมาอีกเป็นครั้งที่สองสำหรับงาน Bangkok Week 2019 หรือเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2562 ที่ได้รับความสำเร็จอย่างล้นหลามเมื่อปีที่แล้ว โดยภายใต้ธีม "Fusing Forward ผสานสร้างสู่อนาคต" ของปีนี้ได้รวบรวมหลากหลายผลงานสร้างสรรค์ของนักออกแบบและดีไซน์เนอร์จากในไทยและต่างประเทศที่มุ่งเน้นให้เกิดการขับเคลื่อนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนมาไว้ที่ย่านเจริญและบริเวณต่างๆในกรุงเทพฯ ตลอดทั้งเก้าวัน ระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2562

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมย่านเจริญกรุงที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมเก่า ถึงได้ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่หลักในการจัดงาน Bangkok Design Week ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว? นี่เป็นเพราะสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency: CEA) มองย่านเก่านี้ว่าสามารถทำให้มีชีวิตชีวา มีขีดความสามารถทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ ด้วยการผลักดันให้เป็นย่านสร้างสรรค์ (Creative District) แห่งแรกของกรุงเทพฯ ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การผลิกโฉมท่าเรือและโกดังในสมัยรัชการที่ 5 ให้กลายเป็นเอเชียทีค หรือการปลุกสีสันให้กับอาคารทางประวัติศาสตร์ในย่านเจริญกรุงในงาน Awakening Bangkok ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยงาน Bangkok Week 2019 ในปีนี้ ได้นำเสนอผลงานด้านความคิดสร้างสรรค์ผ่านห้ากิจกรรมหลัก ได้แก่ Showcase & Exhibition, Talk & Workshop, Creative District, Event & Program และ Creative Market

หนึ่งในไฮไลท์ของงาน Bangkok Design Week 2019 ในปีนี้ คือ พาวิลเลียน Circular Factory by GC สีม่วงเม็ดมะปรางที่ตั้งอยู่อย่างเป็นสง่าที่หน้าลานไปรษณีย์กลาง บางรัก ซึ่งบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี ที่ในฐานะผู้ผลิตเม็ดพลาสติกได้จำลองกระบวนการรีไซเคิลมาไว้ในพาวิลเลียนนี้ภายใต้แนวคิด Circular Living เพื่อจะสื่อว่า เราทุกคนสามารถเปลี่ยนโลกได้ เพียงแค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้พลาสติกหรือสิ่งของอื่นๆผ่านการใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่ให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า การอัพไซเคิล (Upcycle) โดยความรู้เกี่ยวกับการใช้พลาสติกตามแนวคิด Circular Living นั้น จะถ่ายทอดผ่านนิทรรศการสามโซนที่ให้ผู้เข้าชมงานได้เปิดใจที่จะเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับขยะพลาสติกว่า พลาสติกนั้นไม่ใช่ผู้ร้าย และการเลิกใช้พลาสติกอย่างถาวรไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก แต่เราสามารถสร้างวงจรชีวิตใหม่ให้พลาสติกหมุนเวียนอยู่ในระบบการผลิตและการบริโภคอย่างคุ้มค่าและยาวนานที่สุดได้

  • โซนแรก: 7 Circulars เป็นโซนที่ปลูกฝังเรื่องการแยกขยะพลาสติกด้วยการให้ผู้เข้าชมงานได้เรียนรู้เรื่องการขัดแยกขยะว่า ขยะพลาสติกนั้นไม่สามารถทิ้งรวมกันได้ แต่ต้องทำการแยกขยะพลาสติกตามประเภทก่อนทิ้งโดยการใช้ลูกบอลที่มีตัวเลขและสีที่แตกต่างกันแทนขยะพลาสติกทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ PETE, HDPE, PVC, LDPE, PP, PS และอื่นๆ ซึ่งผู้เข้าชมงานจะจดจำประเภทขยะพลาสติกได้ง่ายขึ้นเมื่อหยิบลูกบอลไปใส่ตามท่อที่มีเลขตรงกับประเภทพลาสติกที่เขียนบนลูกบอล ลูกบอลนั้นก็จะไหลตามท่อ และแยกไปตามประเภทพลาสติก
  • โซนที่สอง: DIY & Industrial Recycle เป็นโซนที่จะตอบคำถามที่ต่อเนื่องมาจากโซนแรกว่า หลังจากที่ได้แยกพลาสติกตามประเภทเม็ดพลาสติกแล้ว สามารถนำไปทำเป็นอะไรต่อได้บ้าง? โซนนี้ผู้เข้าชมงานจะได้เห็นภาพรวมของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกผ่านเครื่องจักรจำลองที่ใช้ในกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก ได้แก่ เครื่องฉีดพลาสติก (Injection Machine) และเครื่องบีบอัดพลาสติก (Compression Molding Machine) นอกจากที่ผู้เข้าชมงานจะได้เรียนรู้ถึงกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกผ่านการนำหลอดพลาสติกไปเข้าเครื่องบดแล้ว ทาง Precious Plastic Bangkok โครงการรีไซเคลิขยะพลาสติกที่คุณโดมินิก ภูวสวัสดิ์ จักรพงศ์ เป็นประธาน ยังได้นำเครื่องอัดรีดพลาสติก (Shredder + Extrusion) มาจัดแสดงในโซนนี้ เพื่อสาธิตขั้นตอนการทำชามรีไซเคิลจากฝาขวดน้ำอีกด้วย
  • โซนที่สาม: Circular Showcase ภายใต้สโลแกน "จากผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์" โซนนี้จึงเป็นการสรุปแนวคิด Circular Living ที่จีซีต้องการจะสื่อให้ผู้เข้าชมงานได้รับรู้ว่า ปัญหาขยะพลาสติกสามารถแก้ไขได้ ด้วยการนำพลาสติกที่มีมูลค่าไม่มากนักและมักถูกใช้งานเพียงชั่วคราวมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นสินค้าพลาสติกรีไซเคิลที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วยการยืดวงจรชีวิตของพลาสติกให้หมุนเวียนอยู่ในระบบครบอย่างวงจร คุ้มค่า และยาวนานที่สุดผ่านการอัพไซเคิล (Upcycle) นอกจากนี้โซนนี้ยังได้มีเสื้อและกระเป๋าเป้จากโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand (UTO) และสินค้าพลาสติกรีไซเคิลมาจัดแสดง อย่างกระถางพลาสติกรีไซเคิลจาก "พงไพร", กระเป๋าผ้า Upcycling ลายปลาจาก "ปาป๋าว" และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านแบรนด์ "Many go Round" ที่ทำมาจากการ Upcycling แม่ผิมพ์ฝากล่องและถาดจากโรงงานฉีดพลาสติก

รูปทรงของทางเข้าและทางออกของพาวิลเลียนสะท้อนนั้น ถึงทัศนคติของผู้เข้าชมงานมีต่อพลาสติกรีไซเคิล เมื่อผู้เข้าชมงานได้ก้าวผ่านทางเข้ารูปกากบาทเข้ามาในพาวิลเลียน มักจะคิดว่า การนำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิลและใช้ในชีวิตประจำวันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่เมื่อได้เรียนรู้จากทั้งสามโซนแล้ว ก็จะก้าวออกจากพาวิลเลียนผ่านทางออกรูปเครื่องหมายบวก โดยมีทัศนคติใหม่ต่อขยะพลาสติกที่ เราทุกคนสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้เพียงแค่บิดมุมมองและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

#Circular Factory
#Circular Factory by GC เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ 2019
#Bangkok Design Week 2019
#BKKDW2019
#ขยะพลาสติก
#รักษ์โลก
#รีไซเคิล
#Recycle
#อัพไซเคิล
#Upcycle
#เศรษฐกิจหมุนเวียน
#Circular Economy
#เปลี่ยนขยะเป็นแฟชั่นรักษ์โลก
#ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก
#ศิลปะ
#การออกแบบ
#นิทรรศการศิลปะ

Feature Stories

Feature Stories
28 เมษายน 2564
Resilience skill ล้มได้ แต่ลุกให้เร็ว ด้วยใจที่มุ่งมั่น
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
22 ตุลาคม 2563
โซลาร์ชนิดลอยน้ำทะเล นวัตกรรมพลังงานทางเลือกยั่งยืน ที่เป็นมิตรต่อทุกสิ่งแวดล้อม [The Momentum]
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
26 มกราคม 2563
ThinkCycle Bank ธนาคารขยะ ThinkCycle ทิ้งแบบหมุนเวียน เพื่อเปลี่ยนโลก
อ่านเพิ่มเติม