23 พฤศจิกายน 2564

GC ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนในงาน “Thailand Minister’s Climate Talk and Business Leaders To share vision and experiences on Net – Zero Transformation” ตอกย้ำเป้าหมาย Net Zero ในการประชุมผู้นำโลก COP26

แชร์:

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 คณะผู้แทนประเทศไทย และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์คู่ขนานกับการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ณ ศาลาไทย (Thai Pavilion) เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ งาน “Thailand Minister’s Climate Talk and Business Leaders To share vision and experiences on Net – Zero Transformation” ร่วมกับ คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คุณบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ GC ในการเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการผลักดันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้สำเร็จ

CEO ได้กล่าวว่า ด้วยความเชื่อที่ว่า “เคมี.. ที่เข้าถึงทุกความสุข (Chemistry for Better Living)” รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจและความยั่งยืน GC จึงได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมมุ่งมั่นในการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ช่วยให้ชีวิตของคนดีขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ GC ได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานด้าน Decarbonization เพื่อก้าวสู่ Net Zero ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) ลดลง 20% ภายในปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. Efficiency-driven: ลด GHG 20% ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตในปัจจุบันและอนาคตให้มี การปลดปล่อย GHG น้อยที่สุดพร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ 2. Portfolio-driven: ลด GHG 25% ด้วยการปรับโครงสร้างธุรกิจในอนาคตโดยมุ่งเน้นธุรกิจคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม เช่น Biochemicals, Green and Recycling Business และ 3. Compensation-driven: ลด GHG 55% โดยการชดเชยคาร์บอนที่เหลือ ด้วยแนวทางและเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่หลากหลาย

การประชุม COP26 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2564 โดยผู้นำจาก 196 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุมหารือถึงแนวทางและข้อตกลงร่วมกันป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบกับคนทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกการประชุมว่าด้วยการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงสุด (Climate Change) ในโลก มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065

ข่าวสาร

ข่าวสาร
01 สิงหาคม 2565
GC และ กลุ่ม ปตท. ผนึกพันธมิตร ภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนระดับประเทศ จัดตั้ง “Thailand CCUS Consortium” ตอกย้ำเป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero ของไทย
อ่านเพิ่มเติม
ข่าวสาร
14 เมษายน 2563
GC เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพลาสติกทางการแพทย์ สนับสนุนวัสดุเพื่อจัดทำชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมต่อสู้กับไวรัสโควิด-19
อ่านเพิ่มเติม
ข่าวสาร
20 ธันวาคม 2562
ปฏิวัติงานฟุตบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์ ชู Waste This Way จัดการขยะเหลือศูนย์
อ่านเพิ่มเติม