โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง เพื่อการมุ่งสร้างความยั่งยืน
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง
เพื่อสร้างความยั่งยืนของท้องทะเล และประมงพื้นบ้านระยอง
เราเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จึงริเริ่มโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยองเพื่อคืนความสมบูรณ์ และสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความยั่งยืนแก่ท้องทะเลระยอง และสร้างรายได้ให้แก่ประมงเรือเล็กพื้นบ้าน อาชีพท้องถิ่นที่มีมาอย่างยาวนาน
แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า สำหรับคนพื้นเพระยองแล้ว การทำประมงเรือเล็กพื้นบ้าน คือ อาชีพดั้งเดิมที่สอดคล้องกับภูมิประเทศของจังหวัดระยองที่มีชายฝั่งทะเลอันอุดมสมบูรณ์ยาวถึงประมาณ 105 กิโลเมตร
ในอดีต...ท้องทะเลแห่งนี้เต็มไปด้วยปลานานาชนิด และสัตว์น้ำจำนวนมหาศาล แต่ในวันนี้ ประมงพื้นบ้านจังหวัดระยอง กำลังได้รับผลกระทบจากจำนวนทรัพยากรทางทะเลที่ลดลงโดยมีสาเหตุมาจาก ประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำผิดกฎหมายเพื่อให้จับสัตว์น้ำได้จำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่โตเต็มที่ นอกจากนั้น หลายครั้งที่สมอเรือและอุปกรณ์ของเรือประมงขนาดใหญ่ได้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ เช่นเดียวกับการบุกรุกทำลายป่าชายเลนเพื่อขยายชุมชนและเมือง ก็มีส่วนทำลายที่อยู่อาศัยและถิ่นอนุบาลทางธรรมชาติของสัตว์น้ำด้วย
GC ในฐานะองค์กรคาร์บอนต่ำและผู้นำด้านปิโตรเคมี เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จึงริเริ่มโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง เพื่อคืนความสมบูรณ์ และสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความยั่งยืนแก่ท้องทะเลระยอง
กิจกรรมของโครงการฯ ครอบคลุมในหลายมิติ เพื่อผลลัพธ์ในเชิงปริมาณและคุณภาพต่อระบบนิเวศทางทะเล ประกอบด้วย
สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ด้วยซั้งกอ
สร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลชายฝั่ง ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดระยอง โดยทำซั้งกอ และแนวกั้นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ซึ่งสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 14 รักษ์ชีวิตใต้น้ำ (Life below water)
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
จัดทำซั้งกอ
+
ธนาคารปู ฟื้นฟูประมงพื้นบ้าน
โดยการนำแม่ปูไข่นอกกระดองมาดูแลและเพาะฟักในโรงเรียนและกระชัง 1-2 วัน เพื่อให้แม่ปูสลัดไข่ออกนอกกระดอง แยกไข่ออกจากบ่อของแม่ปูเพื่ออนุบาลลูกปู ก่อนปล่อยตัวอ่อนลงสู่ทะเล ช่วยเพิ่มปริมาณปูม้าให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติต่อไป นอกจากนี้ ชาวประมงพื้นบ้านยังร่วมใจอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ด้วยการไม่จับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ หรือจับพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์น้ำมาจำหน่ายหรือบริโภค
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
จำนวนปูที่ประมงเรือเล็กพื้นบ้านจับได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
GC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทะเลระยอง เช่น ปลากะพง หอยหวาน หมึกหอม กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
+
ปลูกป่าชายเลน
ปลูกและขยายพันธุ์ต้นโกงกางและต้นโปรงแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดระยอง ตลอดแนวป่าชายเลนคลองท่าถ่านและปากน้ำก้นปึก เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงชายฝั่ง
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
ปลูกต้นโกงกางไปแล้ว
+
เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น
ส่งเสริมให้ชาวประมงเรือเล็กพื้นบ้านประกอบอาชีพเสริม โดยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและระบบประสาท
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
ประมงพื้นบ้านได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้
โครงการธนาคารน้ำมันเครื่องมือสอง
รณรงค์ให้มีการจัดการน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการจัดการน้ำมันเครื่องใช้แล้วไม่ถูกต้อง เพิ่มรายได้แก่กองทุนส่งเสริมกลุ่มอาชีพประมง โดยมีกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านในจังหวัดระยอง
การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์
จัดเก็บน้ำมันได้
สร้างรายได้เฉลี่ยรวม
ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลเริ่มกลับมาอีกครั้ง ไม่เพียงจำนวนสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ของชาวประมงเรือเล็กพื้นบ้านก็เพิ่มขึ้นด้วย ไม่เพียงทรัพยากรทางทะเลจะมีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ดีขึ้น แต่ชาวประมงเรือเล็กพื้นบ้านก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
เราดีใจที่ได้คืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเลระยอง และในวันนี้.... เราได้คืนรอยยิ้มให้แก่ชาวประมงเรือเล็กพื้นบ้าน อีกครั้ง
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการด้านความยั่งยืน (Sustainability) และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับ GC องค์กรคาร์บอนต่ำและผู้นำด้านปิโตรเคมีแบบครบวงจรในระดับสากล เพื่อการมุ่งสู่การเป็นผู้ขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เม็ดพลาสติกรีไซเคิล และเคมีภัณฑ์อย่างยั่งยืน ตามหลักพื้นฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) บนแนวคิด ESG
ข้อมูล ณ เมษายน 2564