การชดเชยคาร์บอน เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือหลังจากการดำเนินงานด้าน Efficiency-Driven และ Portfolio-Driven โดยบริษัทฯ มีการดำเนินงานด้านการใช้เทคโนโลยี (Technology-based Solutions) เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี Carbon Capture and Storage (CCS) และการชดเชยผ่านการดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติ (Nature-based Solutions) เช่น การปลูกป่า ฟื้นฟูป่า เป็นต้น

การดำเนินงานด้าน Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS)

บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการการนำเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) โดยพิจารณาจากความพร้อมของเทคโนโลยีและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจ ตลอดจนใช้ช่องทาง Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมีแผนผลักดันการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจพร้อมกับลดต้นทุน (Economy of Scale)

โดยมีเป้าหมายในการดักจับคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยี CCUS

ล้านตัน ในปี 2593

CCUS Technology Examples

การดำเนินงานด้าน Nature-Based Solutions

บริษัทฯ ได้ดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและเสริมสร้างสมดุลของระบบนิเวศของป่าร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องบนพื้นที่รวมกว่า 2,500 ไร่เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกักเก็บคาร์บอน และการสร้าง Carbon Credit สำหรับชดเชยก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือหลังจากการดำเนินงานฯ

โดยมีเป้าหมายที่

ล้านตันต่อปี ในปี 2593

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ติดตามสถานการณ์ตลาด Carbon Credit และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อให้การชดเชยคาร์บอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวอย่างการดำเนินงาน

โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างสมดุลของระบบนิเวศของป่าต้นน้ำบนพื้นที่ดำเนินโครงการกว่า 2,500 ไร่ บนเขาห้วยมะหาด จังหวัดระยอง อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2556 โดยได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ว่าเป็นโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS ) ภาคเอกชนประเภทป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว

อ้างอิง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), การประเมินผลการดำเนินโครงการ (ปี 2556-2561)

การดำเนินโครงการ

GC ปลูกป่า
ไร่
ดูดซับก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
(ข้อมูลปี 2556-2561)
เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่
ต้น

โครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์

บริษัทฯ ได้ร่วมปลูกป่านิเวศ ระยองวนารมย์ ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน โดยการปลูกอย่างยั่งยืนตามหลักการ Eco Forest ในพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง รวมพื้นที่การปลูกป่าทั้งหมด 80 ไร่ โดยมีการดูดซับก๊าซเรือนกระจก 1,270 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

การดำเนินโครงการ

GC ปลูกป่า
ไร่
ดูดซับก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(ข้อมูลปี 2563)