07 พฤษภาคม 2563

DO & DON'T เมื่อพูดถึง COVID-19

แชร์:

วิธีการสื่อสารเกี่ยวกับ COVID-19 มีความสําคัญมากในการสนับสนุนให้ประชาชนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยต่อสู้กับ โรคและหลีกเลี่ยงการทําให้ความหวาดกลัวและการตีตราทางสังคมแพร่กระจายมากขึ้น เราจําเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพูดถึงโรคและผลกระทบรวมทั้งการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล โดยใช้วิธีการสื่อสารง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้คำ เมื่อพูดถึง COVID-19 ดังนี้

DO DON'T
เรียกว่าไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ไม่ควรพูดชื่อสถานที่หรือเชื้อชาติประกอบ เช่น ไวรัสจีน ไวรัสอู่ฮั่น
ใช้คำว่า "ผู้ติดเชื้อ COVID-19" "คนที่ได้รับการรักษา COVID-19" "ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19" ไม่ใช้คำว่า "ผู้ป่วย COVID-19" "เหยื่อ COVID-19"
ใช้คำว่า "คนที่อาจติดเชื้อ COVID-19" "คนที่สันนิษฐานว่าติดเชื้อ COVID-19" ไม่ใช้คำว่า "ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ COVID-19" "ผู้ป่วยต้องสงสัย"
ใช้คำว่า "ได้รับเชื้อ" หรือ "ติดเชื้อ" COVID-19 ไม่ใช้คำว่า คนที่ "แพร่เชื้อ" "ทำให้คนอื่นติดเชื้อ" "แพร่เชื้อไวรัส"
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงจาก COVID-19 ควรยึดหลักตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และคำแนะนำการดูแลสุขภาพล่าสุดที่ประกาศอย่างเป็นทางการ กระจายข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยัน หรือ ภาษาที่ใช้คำน่ากลัวเกินจริง เช่น "หายนะของโลก"
พูดถึงแง่ดีเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการป้องกันและรักษาโรค เน้นพูดถึงการป้องกันดูแลตนเอง ไม่ควรเน้นพูดถึงแต่เรื่องไม่ดี สร้างคำพูดน่าหวาดกลัว

ที่มา: WHO, Unicef, IFCR. (2020). การตีตราทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19,
สืบค้นจาก https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/covid19-stigma-guide-th-final.pdf

Feature Stories

Feature Stories
14 ธันวาคม 2563
[ Iameverything ] ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ตระหนักรู้สู่การปฏิบัติจริงกับ GC Circular Living Symposium 2020 ปีที่ 2
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
22 สิงหาคม 2562
Infinity Trash เปรม พฤกษ์ทยานนท์ ลูกชายครอบครัวธุรกิจรับซื้อขยะ อดีตเด็กชายที่ฝันอยากเป็นหมอ ผู้โตมาเป็นวิศวกร แล้วผันตัวมาเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
04 ธันวาคม 2561
#ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก จากแนวคิดก้าวสู่ความสำเร็จ
อ่านเพิ่มเติม