03 กรกฎาคม 2562

“Because There is No Planet B” สู่ภารกิจปฏิวัติวงการแฟชั่นของ ECOALF

แชร์:

“เมื่อไม่มีโลกใบที่สอง” เราจึงต้องมีแผนรองรับกับวิกฤติทรัพยากรโลกในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นที่สร้างมลภาวะให้กับโลกเป็นอันดับ 2 นั้น จะนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์และธุรกิจอย่างให้โลกแฟชั่นเดินร่วมเคียงกับอนาคตของโลกได้อย่างยั่งยืน

ในแต่ละวันที่เราเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ เราอาจมีชอยส์ A, B หรืออีกหลายๆ ชอยส์ให้เลือกหยิบมาแม็ทช์ แต่สำหรับโลกที่เราอยู่อาศัยนั้น เรามีใบเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นโลกแฟชั่นจะร่วมเคียงกับอนาคตของโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร เราได้พบกับ ECOALF แบรนด์แฟชั่นจากสเปนที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความตระหนักที่ว่า “Because There is No Planet B” หรือ เพราะเราไม่มีโลกใบที่สอง ทำให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติเพื่อปฏิวัติทรัพยากรโลก โดยการนำวัสดุเหลือใช้หรือขยะจากท้องทะเลมาสร้างสรรค์เป็นสินค้าใหม่ ภายใต้ดีไซน์และคุณภาพดีเยี่ยมเทียบเท่าแบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลก

เราได้เห็นแจ็คเก็ตทรง Puffer เนื้อผ้านิ่มสวมใส่สบาย กับกระเป๋าดีไซน์เท่ของ ECOALF ที่ผลิตจากเส้นใยซึ่งแปรรูปมาจากขยะในทะเล โดยผ้าทุกๆ 100 เมตร ที่นำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าหรือกระเป๋านั้น แปรรูปมาจากขยะขวดน้ำพลาสติก PET จำนวน 70 ขวด หรืออวนจับปลาน้ำหนัก 235 กรัม แต่ถ้าจะเทียบกับขยะกว่า 8 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทรในทุกๆ ปีทั่วโลกนั้น นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเริ่มต้นเล็กๆ เท่านั้น

ในงาน “Circular Living Symposium 2019 : Upcycling Our Planet” เราได้พบกับ Irene Diaz Ruiz (ไอรีน เดซ รูซ) ผู้จัดการทั่วไปของ ECOALF ที่เป็นหนึ่งในวิทยากรของงาน และได้มาร่วมพูดคุยกับเราแบบเจาะลึกถึงแนวคิดการต่อยอด Upcycling และโครงการ “Upcycling The Oceans” ที่ขยายมาถึงประเทศไทยด้วย

Irene Diaz Ruiz
ผู้จัดการทั่วไปของ ECOALF

Key Message ที่ต้องการถ่ายทอดในฐานะวิทยากรของงานครั้งนี้

“สิ่งที่ฉันอยากจะสื่อสารกับทุกคน คือ ผลกระทบต่างๆ ที่อุตสาหกรรมนี้ (อุตสาหกรรมแฟชั่น) ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เราทุกคนเป็นมนุษย์อยู่บนโลกใบนี้ เราจะสามารถช่วยและจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง แม้กระทั่งแบรนด์ต่างๆ อย่าง Ecoalf (อีโคอัลฟ์) และตัวฉันเองที่มาในฐานะตัวแทนของอีโคอัลฟ์ ก็สามารถแบ่งปันแนวคิดที่แตกต่างออกไปในด้านการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน โดยเรื่องที่เราพยายามทำมาโดยตลอด คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่หยุดอยู่แค่สิ่งที่เราทำ ในการนำเอาวัสดุต่างๆ มาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์ของเรา แต่มันคือกระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งมันคือใจความสำคัญของภาพรวมในการทำงานแบบ Circular Economy ที่อยากจะแชร์และนำเสนอให้กับทุกคนได้ตระหนักถึง”

แนวคิดสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ “Circular Economy” ขยายเติบโตและประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมแฟชั่น

“ถ้าพูดถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมดที่เสื้อผ้าได้ถูกผลิตออกมาในแต่ละปี ตอนนี้มันกลายเป็นขยะที่สะสมอยู่ในแหล่งขยะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรตระหนักถึงก็คือการลดปริมาณขยะ และให้ความสำคัญต่ออายุการใช้งานของสิ่งทอแต่ละประเภท หรือกับบางอย่างที่เรามีส่วนเกี่ยวข้องหรือช่วยกันเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความแตกต่างและเพิ่มความน่าสนใจ ดังนั้นเราจึงนึกถึงการนำสิ่งต่างๆ กลับมาใช้ และพัฒนาต่อยอดซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในตอนนี้”

ทำไมให้ความสำคัญกับการแปรรูปขยะจากท้องทะเล

“เพราะผลิตภัณฑ์ที่เราทำโดยส่วนใหญ่ทำมาจากเศษขยะรีไซเคิลที่หาได้ในพื้นที่นั้นๆ และเรายังมีโครงการณ์ดีๆ ที่ชื่อ Upcycling The Oceans ก่อตั้งในปี 2015 เริ่มที่ประเทศสเปนเป็นที่แรก โดยเราเปลี่ยนขยะในมหาสมุทรให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้าต่างๆ ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม สวมใส่ได้จริง”

การสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการใช้สินค้าที่แปรรูปจากขยะภายใต้แบรนด์ Ecoalf

“นี่เป็นเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราพยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนมั่นใจเรื่องคุณภาพ รวมไปถึงความสวยงามของการออกแบบ ซึ่งคุณแทบจะไม่รู้เลยว่านี่คือผลิตภัณฑ์ที่เราทำมาจากวัสดุรีไซเคิล ยกตัวอย่างเสื้อที่ฉันใส่มาวันนี้ มันทำมาจากผ้าฝ้ายรีไซเคิล รองเท้าคู่นี้ก็ทำมาจากขยะและซากสาหร่ายที่เราพบในทะเล ซึ่งความรู้สึกตอนสวมใส่มันเหมือนวัสดุทั่วไปไม่ต่างกันเลย มากไปกว่านั้นเรามีโปรแกรมทดสอบการใช้งานที่เชื่อถือได้สำหรับเช็คคุณภาพ อายุการใช้งานเป็นยังไงและมีสารเคมีอะไรตกค้างหรือไม่ ที่ทำให้เรามั่นใจว่าเรากำลังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภค หรือบางอย่างก็ดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องตลาดด้วยซ้ำ”

แนวคิด Upcyling จะสามารถจุดประกายให้กับดีไซเนอร์ หรือเหล่า Start-Up ในประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

“อย่างแรกคือโปรเจ็กท์นี้สามารถช่วยให้ท้องทะเลของเราสะอาดขึ้น แน่นอนว่าถึงจะไม่ได้ช่วยได้ทั้งหมดแต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีค่ะ อย่างที่สองเราสามารถเพิ่มการรับรู้ต่อผู้คนต่างๆ เช่นตอนนี้ที่ฉันได้มีโอกาสออกมาแบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดของ Ecoalf ให้ทุกๆ คนที่นี่ เรายังนำเสนอและสาธิตไอเดียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง มันมีประโยชน์มาก อย่างนิทรรศการที่อยู่ในงานนี้จากองค์กรต่างๆ ที่มีผลงานคุณภาพ ก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายคน หรือเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมสิ่งทอหรือการออกแบบ แต่รวมถึงองค์กรต่างๆ แม้กระทั่งคนธรรมดาด้วย เราทุกคนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสุดท้ายแล้วทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมที่เราอยู่ เพื่อชีวิตที่ดีและโลกของเราก็สะอาดน่าอยู่มากขึ้น”

คำแนะนำสำหรับนักออกแบบที่สนใจต่อยอดแนวคิด Upcylcing

“มันอาจจะยากนิดหน่อยสำหรับการทำตลาดของเรื่องนี้ ที่เหมือนอีกทางเลือกหนึ่งของนักออกแบบ เมื่อ 4-5 ปีก่อน ตอนเราเริ่มทำ Ecoalf ขึ้นมา ชนิดของผ้าที่เรามียังไม่มีคุณภาพมากนัก แต่ตอนนี้ทุกอย่างถูกพัฒนาให้ดีขึ้น มันทำให้คุณอย่างง่ายขึ้น สิ่งที่อยากจะแนะนำให้กับนักออกแบบก็คือ แนวการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมากในการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน /ไม่ใช่แค่ว่าทำมาขายไป แต่ต้องใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การหาวัสดุ วิธีการผลิต และเมื่อไม่ใช้งานแล้ว เราจะทำอย่างไรกับมัน ระยะเวลาในการใช้งานและวิธีจำกัด ซึ่งถ้านักออกแบบเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ แล้ว พวกเขาก็จะรู้ว่าหน้าที่ของเขาคืออะไรบ้าง เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าการได้เสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ซึ่งนั่นก็จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนขององค์กรนั้นได้”

ความคาดหวัง และเป้าหมายต่อไปในด้านสิ่งแวดล้อมของ Ecoalf

“สำหรับโครงการ Upcycling The Oceans เรากำลังอยู่ในระหว่างการต่อยอดโปรเจ็กท์นี้ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ที่มีอาณาเขตท้องทะเลที่สำคัญซึ่งเชื่อมระหว่างทวีบยุโรปและอัฟฟริกา เป็นทะเลปิดที่คล้ายทะเลสาปมากกว่า ซึ่งเราพบว่านี่เป็นอีกพื้นที่น่าเป็นห่วงอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเราก็อยากจับมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อทำให้โปรเจ็กท์นี้เกิดขึ้นและทุกคนเห็นความสำคัญกับความตั้งใจนี้ของพวกเรา”

ทางด้านในประเทศไทยนั้นทาง GC ก็ได้จับมือร่วมกับ Ecoalf ในการดำเนินโครงการ “Upcyling The Ocean Thaoland” ที่ได้ร่วมกันจัดเก็บขยะในทะเล เพื่อเข้าสู่กระบวนการ Upcyling สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยโครงการจัดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก ปี 2017 ที่เกาะเสม็ด โดยมีอาสาสมัครกว่า 300 คนมาร่วม ที่แค่เพียง 5 ชั่วโมงก็สามารถเก็บขยะในทะเลได้ถึง 0.7 ตันแล้ว โดยทางไอรีนได้เสนอแนะว่าแม้ที่ผ่านมาโครงการนี้จะเป็นแค่การทดลองปฏิบัติ แต่อยากให้ประเทศไทยดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาท้องทะเลที่ยั่งยืนในระยะยาว

“It’s Not Only What We Do, But Also How We Do It”
Irene Diaz Ruiz

ที่มา: www.iameverything.co

Feature Stories

Feature Stories
13 พฤษภาคม 2563
GC x ThaiBev ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ 1 ล้านขวด แทนความห่วงใยส่งถึง อสม. ฮีโร่ของคนไทย ที่โลกชื่นชม
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
14 กุมภาพันธ์ 2563
‘Waste This Way’ จาก GC ส่งผลบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ไม่เหลือขยะไว้ข้างหลัง พร้อมร่วมมือพลังคนรุ่นใหม่ TACT สานต่อเพื่อสังคมที่ดีกว่า [The Standard]
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
04 กันยายน 2560
นวัตกรรมใหม่ของถุงทวารเทียม เพราะคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมีความสำคัญ
อ่านเพิ่มเติม