04 กันยายน 2560

นวัตกรรมใหม่ของถุงทวารเทียม เพราะคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมีความสำคัญ

แชร์:

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือการมี ถุงทวารทียม หรือ Colostomy Bag ติดตัวตลอดเวลา โดยถุงทวารเทียมคือ ชุดอุปกรณ์สำหรับรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมของผู้ป่วย ที่ไม่สามารถขับถ่ายทางช่องทางปกติได้ ถุงทวารเทียม จะทำหน้าที่แทนในการเก็บสิ่งต่าง ๆ จากการขับถ่าย ซึ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ถุงนี้อย่างมาก แทบจะทุกวัน จึงถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญมาก อย่างหนึ่งในปัจจุบันต้องใช้วิธีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงและไม่สะดวกในการใช้งาน

“ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้จำนวนมาก และมีความต้องการใช้ถุงทวารเทียมอย่างมาก โดยต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมดในราคาแพงถึงถุงละ 150-300 บาทต่อถุง และกระทรวงสาธารณสุขจัดส่งให้แต่ละโรงพยาบาลของแต่ละจังหวัดจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย”
นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าว

จากปัญหาดังกล่าว นำมาซึ่งความร่วมมือระหว่าง PTTGC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันพลาสติก ในการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก Compound LLDPE ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติ เก็บกลิ่น กันการรั่วซึม และสามารถลดต้นทุนการผลิตถุง Colostomy Bag ลงได้อย่างมากและได้ส่งมอบเม็ดพลาสติกจำนวน 10 ตัน ให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันพลาสติกนำไปผลิตเป็นถุง Colostomy Bag ได้ประมาณ 60,000 ถุง สำหรับใช้ทดลองกับคนป่วยทั่วประเทศทั้งหมด 322 โรงพยาบาลๆ ละ 30 คน คิดเป็นคนป่วยทั้งหมดประมาณ 9,000 คน ตลอดโครงการ

คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าวว่า “PTTGC มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต โครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ดียิ่งขึ้น เราตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิต ของคนในสังคมเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน จึงนับเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาอุปกรณ์พลาสติก ทางการแพทย์ ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ด้วยศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา และต่อยอดความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตอุปกรณ์พลาสติกทางการแพทย์คุณภาพสูงอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อการผลิตได้ภายในประเทศ ลดการนำเข้า และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ เกิดจากความมุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมกันสร้างสรรค์ประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยอย่างยั่งยืนต่อไป”

นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ กล่าวว่า “โครงการนี้ทำให้ช่วย ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตถุงทวารเทียมได้อย่างมาก ลดการนำเข้า และยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถเก็บกลิ่น ดับกลิ่นได้ และทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติก และยางพาราได้เป็นอย่างดี”

คุณสมบัติ หทัยเปี่ยมสุข ประธานชมรมผู้ป่วยทวารเทียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้ป่วยทวารเทียมในปัจจุบัน การดำรงชีวิตค่อนข้างลำบาก การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่ปกติ บางคนจะรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกอับอาย แต่เมื่อมีถุงทวารเทียมจากโครงการนี้ที่มีคุณสมบัติเด่นกว่าถุงที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือ สามารถ เก็บกลิ่นและดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ มีราคาที่ถูกลงมาก ผู้ป่วยสามารถมีกำลังซื้อได้และที่สำคัญในอนาคตจะสามารถ เข้าถึงสิทธิผู้ป่วยของ สปสช. ได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะดีขึ้นอย่างมาก”

นับเป็นความร่วมมือในการยกระดับการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย PTTGCได้มอบเม็ดพลาสติก InnoPlus เกรดพิเศษ เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนา Colostomy Bag (ถุงทวารเทียม) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อทดแทนการนำเข้า สร้างคุณค่าร่วมกันในการพัฒนานวัตกรรมและแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่มควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีมากยิ่งขึ้น ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต

Feature Stories

Feature Stories
29 สิงหาคม 2562
ธำรงธาราสวัสดิ์ วิธีคิดเบื้องหลังการทำงานของนักสิ่งแวดล้อมบวกนักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน นักวางกลยุทธ์ ที่เป็นพลังใหญ่ในการชะลอการสูญเสียของทะเลไทย
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
03 กรกฎาคม 2562
“Because There is No Planet B” สู่ภารกิจปฏิวัติวงการแฟชั่นของ ECOALF
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
21 กรกฎาคม 2560
PTTGC จับมือ ททท. จังหวัดระยอง และเชฟชุมพล ส่งมอบเมนูอร่อยห้ามพลาดประจำระยอง “10 เมนูอร่อยนี้ที่ระยอง by เชฟชุมพล”
อ่านเพิ่มเติม