26 กรกฎาคม 2565

สร้างคนเก่งและดีแบบ GC ด้วยกระบวนการที่ดี

แชร์:

ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทุกองค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แน่นอนว่า ต้องเป็นเรื่องของการพัฒนาคน (Human Capital Development) ให้มีทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างต่อเนื่อง การสร้างและดูแลพนักงาน ให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่ดีในการบ่มเพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ GC ในฐานะองค์กรที่นำหลัก ESG มาปรับใช้ ได้ออกแบบกระบวนการดูแลพนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดต่อองค์กรและตัวพนักงานเอง

ยิ่งปรับให้พอดี ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ความท้าทาย และความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งเรื่องของ Digital Disruption วิกฤตเศรษฐกิจ และโควิด 19 ทำให้กระบวนการทำงานแบบเดิมๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยในปีที่ผ่านมา GC จัดทำโครงการ FiT Project เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้เพื่อช่วยให้กระบวนการดำเนินธุรกิจ Lean ยิ่งขึ้น ตั้งแต่การจัดซื้อ การจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า การวางแผนการผลิต ไปจนถึงการบริหารจัดการแบบองค์รวม โดยคาดหวังว่าผลลัพธ์จากโครงการดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Productivity) และความคล่องตัว (Agility) ขององค์กร ช่วยสร้างกำไรได้เพิ่มมากกว่า 1,700 ล้านบาทต่อปี มีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 224 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 560 ล้านบาทต่อปี และที่สำคัญช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 80 เลยทีเดียว1 นอกจากโครงการ FiT Project แล้ว ยังมีการ Upskill และ Reskill พนักงานทุกคน ผ่านอีกหลายโครงการ ทั้งโครงการ GC Group Talent for SVP Pool, โครงการ GC Next Gen, โครงการ dEX | SPARK - Data Science and Engineering program และโครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มผลผลิต โดยมุ่งเสริมสร้างศักยภาพ และความเชื่อมั่นในการรับความเปลี่ยนแปลง ให้พนักงานทุกระดับอย่างเหมาะสม ด้วยการลงทุนด้านการฝึกอบรม (Investment in Employee Training) มากถึง 134.53 ล้านบาท อีกทั้งยังมี การวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าตามสายอาชีพของพนักงาน พร้อมจัดทำโครงสร้างเสริมศักยภาพให้พนักงานทุกระดับผ่านโครงการอบรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลการปฏิบัติงานที่เหนือกว่าเป้าหมาย และสนับสนุนให้พนักงานเติบโต เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวัฒนธรรมองค์กร2 เช่น มีความกล้าคิด กล้าทำ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า3

สร้างความเท่าเทียมในองค์กร พื้นฐานการให้ค่าความเป็นคน

เรื่องความเท่าเทียม กำลังเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะภายในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมากและหลากหลาย จึงต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน GC เองมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมตลอดโซ่อุปทาน เรียกว่าครอบคลุมทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์4 นำไปสู่การจัดการควบคุมความเสี่ยงและความปลอดภัยที่สอดคล้องกับแนวทางตามมาตรฐานสากลอีกด้วย ส่งผลให้ไม่พบการดำเนินงานที่ละเมิดต่อสิทธิแรงงานหรือสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังไม่พบการเรียกร้องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน จริยธรรม การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือจรรยาบรรณทางธุรกิจ5 ขณะเดียวกัน เรื่องความหลากหลายพบว่า GC มีผู้หญิงในตำแหน่งบริหารสูงถึง 25 %และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 31% ภายในปี 25696 เป้าหมายดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงก้าวสู่การดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง สะท้อนกระบวนการในการดูแลความเท่าเทียมในองค์กรของ GC ที่ใส่ใจพนักงานทุกกลุ่ม และให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศสภาพ

บริหารตามหลัก GRC โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล

ไม่ว่าจะดูแลพนักงานดีอย่างไร ธุรกิจก็ย่อมมีความเสี่ยง หากกระบวนการดำเนินธุรกิจ ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ฉะนั้น เพื่อให้พนักงานของ GC เติบโตขึ้นไปเป็นทั้งคนเก่งและคนดี GC จึงมีการกำหนดการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Governance, Risk Management & Internal Control and Compliance หรือ GRC) เพื่อให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจ ที่ทั้งโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล มีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยทุกฝ่าย ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะกรรมการ ไปจนถึงบุคคลากรทุกระดับ มองเห็นถึงเป้าหมายเดียวกันและร่วมลงมือทำไปพร้อมๆ กัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่เข้มแข็ง ส่งผลให้ GC ได้รับรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส จาก ป.ป.ช. และได้รับคะแนนระดับดีเลิศหรือ 90-100 คะแนน จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยต่อเนื่องถึง 10 ปีซ้อน7

เมื่อ 'คน' ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ดีที่สุดขององค์กร ได้รับการดูแลภายใต้กระบวนการภายในองค์กรที่ดี เพื่อให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ตามแบบฉบับของ GC แน่นอนว่า ผลลัพธ์เชิงบวกจะเกิดขึ้นกับทั้งตัวพนักงาน องค์กร และสังคมต่อไปอย่างยั่งยืน

1 แหล่งอ้างอิง: รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 (ISR 2021) หน้า 224
2 แหล่งอ้างอิง: เว็บไซต์ความยั่งยืน หัวข้อ การเสริมสร้างศักยภาพให้พนักงาน
https://sustainability.pttgcgroup.com/th/society/our-employees/empowering-employees
3 แหล่งอ้างอิง: การดึงดูดและรักษาพนักงาน
https://sustainability.pttgcgroup.com/th/society/our-employees/talent-attraction-and-retention
4 แหล่งอ้างอิง: เว็บไซต์ความยั่งยืน หัวข้อความเท่าเทียมของพนักงาน
https://sustainability.pttgcgroup.com/th/society/our-employees/employee-equality
5 แหล่งอ้างอิง: : เว็บไซต์ความยั่งยืน หัวข้อความเท่าเทียมของพนักงาน
https://sustainability.pttgcgroup.com/th/society/our-employees/employee-equality
6 แหล่งอ้างอิง: : เว็บไซต์ความยั่งยืน หัวข้อความเท่าเทียมของพนักงาน
https://sustainability.pttgcgroup.com/th/society/our-employees/employee-equality
7 รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 (ISR 2021) หน้า 92-105
https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

Feature Stories

Feature Stories
01 ตุลาคม 2562
จินตนาการ (เด็กน้อย) ร่วมสร้างและอนุรักษ์โลกได้
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
24 กรกฎาคม 2562
Care the Bear ทำไมใครๆ ต้องแคร์หมี ?
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
08 เมษายน 2562
Plastics: The More They are Separated, The Greater Benefits They Provide
อ่านเพิ่มเติม