09 กันยายน 2565

โลกอยู่ได้ เราอยู่ได้ ร่วมสร้างกระบวนการที่ดี เพื่อวันนี้ และอนาคต

แชร์:

พลาสติก เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต และอุตสาหกรรมพลาสติก ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ แต่พลาสติกใช้แล้ว ที่ไม่ได้ถูกส่งกลับเข้ากระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี ก็จะกลายเป็นขยะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ความท้าทายของธุรกิจวันนี้ จึงอยู่ที่การรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

GC เป็นหนึ่งองค์กรที่ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG โดยตั้งเป้าเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 (Net Zero 2050) ด้วยการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านแนวคิด ‘GC Circular Living’ เพื่อจัดการพลาสติกใช้แล้ว รวมถึงทรัพยากรอื่นๆในกระบวนการผลิตอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินธุรกิจดังกล่าว ยังสอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง Eco-Efficiency1 หรือ ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการให้ภาคธุรกิจมีศักยภาพการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่กับการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยมีกระบวนการที่ดีในการผลิตและจัดการทรัพยากร ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนี้

ลดของเสียต้นทาง ลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย

เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ซึ่งวัตถุดิบดังกล่าว ขณะเป็นต้นพืช ก็ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกระหว่างเติบโต โดยเมื่อนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ ผ่านการใช้แล้ว และนำไปจัดการอย่างถูกวิธี ก็จะสลายตัวได้ทางชีวภาพ กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และชีวมวล ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช2 เรียกได้ว่า พลาสติกชีวภาพ มีประโยชน์ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทางเลยทีเดียว

นอกจากนี้ เรายังร่วมกับพันธมิตร ตั้งโรงรีไซเคิลในชื่อบริษัท Envicco เพื่อนำพลาสติกใช้แล้วในประเทศ กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (Post-consumer Recycled Resins หรือ PCR) ที่ช่วยลดขยะพลาสติกในประเทศได้ถึง 60,000 ตัน/ปี ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี3

ลดการใช้พลังงาน ด้วยกระบวนการที่ดี และมีการปรับปรุงต่อเนื่อง

ทุกโรงงานของเรา ได้รับการรับรองระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ แสดงถึงการควบคุมดูแลรับผิดชอบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกระบวนการจัดการพลังงาน และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดต่าง ๆ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงาน สามารถลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง4 นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมสร้างจิตสำนึกให้พนักงาน ด้านการลดการใช้พลังงาน ทั้งในกระบวนการผลิต และภายในสำนักงาน โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 1.07 ล้านจิกะจูล/ปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 80,280 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี5

หมุนเวียนนำทรัพยากรมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ลดของเสียสู่สิ่งแวดล้อม

ด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้นำแนวคิด GC Circular Living มาใช้เช่นกัน โดยนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และนำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดการดึงน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลให้ในปี 2021 ที่ผ่านมา สามารถลดการดึงน้ำจืดจากแหล่งน้ำภายนอกได้ถึง 5.66 ล้านลูกบาศก์เมตรเลยทีเดียว6

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการลดปริมาณการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิด และนำของเสียทั้งจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ ไปแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และเชื้อเพลิง ฯลฯ ส่งผลให้มีการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์จำนวน 82,424 ตัน หรือคิดเป็น 83% ในปี 2021 โดย GC ได้ดำเนินนโยบายนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว7

จากการดำเนินงานทั้งหมดนี้ จะเห็นว่า GC มีกระบวนการที่ดี ครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิตและกระบวนการดำเนินงาน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ GC เป็นผู้นำในธุรกิจพลาสติกและเคมีภัณฑ์ระดับสากล ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดย GC ร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ที่มุ่งหวังให้เป้าหมาย Net Zero 2050 นั้นเกิดขึ้นจริง เพื่อให้โลกยังมีทรัพยากรที่เพียงพอ สำหรับผู้คนในวันนี้ และคนรุ่นต่อไปในอนาคต

1 บทความเรื่อง Eco-Efficiency. (2557). เว็บไซต์ https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/80/ContentFile1589.pdf

2 บทความเรื่อง ชีวิตโอ ด้วยไบโอพลาสติก. (2562). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/featured-stories/784

3 ค่าโดยประมาณ, อยู่ระหว่างการประเมินโดยผู้ตรวจสอบ (Third Party Verification) / ประเมินด้วยวิธีการประเมินชีวิตผลิตภัณฑ์ (Cradle-to-Gate) โดยไม่รวมปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก จากการลดปริมาณขยะพลาสติก

4 เป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน. (2564). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/environment/energy-management/energy-target-and-performance

5 โครงการอนุรักษ์พลังงาน. (2564). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/environment/energy-management/energy-conservation-programs

6 การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน.(2564). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/home

7 ปริมาณของเสียที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อของเสียทั้งหมด (Waste Utilization).(2564). รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2564

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

Feature Stories

Feature Stories
05 กรกฎาคม 2564
‘ท็อป-นุ่น’ ตอกย้ำโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ‘เราฝันให้ใกล้ แล้วไปให้ถึงก่อน’ สร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
28 พฤษภาคม 2564
โครงการ “ล้านความห่วงใย เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคน”: 2 ล้านเสื้อกาวน์แห่งความห่วงใย ติดเกราะให้ด่านหน้าสู้โควิด 19
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
17 พฤศจิกายน 2561
จากขยะสู่เสื้อ Upcycling the Oceans, Thailand
อ่านเพิ่มเติม