23 พฤศจิกายน 2564

GC ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนในงาน “Thailand Minister’s Climate Talk and Business Leaders To share vision and experiences on Net – Zero Transformation” ตอกย้ำเป้าหมาย Net Zero ในการประชุมผู้นำโลก COP26

แชร์:

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 คณะผู้แทนประเทศไทย และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์คู่ขนานกับการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ณ ศาลาไทย (Thai Pavilion) เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ งาน “Thailand Minister’s Climate Talk and Business Leaders To share vision and experiences on Net – Zero Transformation” ร่วมกับ คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คุณบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ GC ในการเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการผลักดันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้สำเร็จ

CEO ได้กล่าวว่า ด้วยความเชื่อที่ว่า “เคมี.. ที่เข้าถึงทุกความสุข (Chemistry for Better Living)” รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจและความยั่งยืน GC จึงได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมมุ่งมั่นในการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ช่วยให้ชีวิตของคนดีขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ GC ได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานด้าน Decarbonization เพื่อก้าวสู่ Net Zero ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) ลดลง 20% ภายในปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. Efficiency-driven: ลด GHG 20% ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตในปัจจุบันและอนาคตให้มี การปลดปล่อย GHG น้อยที่สุดพร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ 2. Portfolio-driven: ลด GHG 25% ด้วยการปรับโครงสร้างธุรกิจในอนาคตโดยมุ่งเน้นธุรกิจคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม เช่น Biochemicals, Green and Recycling Business และ 3. Compensation-driven: ลด GHG 55% โดยการชดเชยคาร์บอนที่เหลือ ด้วยแนวทางและเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่หลากหลาย

การประชุม COP26 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2564 โดยผู้นำจาก 196 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุมหารือถึงแนวทางและข้อตกลงร่วมกันป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบกับคนทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกการประชุมว่าด้วยการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงสุด (Climate Change) ในโลก มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065

ข่าวสาร

ข่าวสาร
19 มีนาคม 2564
GC เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และร่วมถวายผ้าไตรจีวรอัพไซคลิง
อ่านเพิ่มเติม
ข่าวสาร
09 กุมภาพันธ์ 2563
ฟุตบอลจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ผนึกแนวคิดรักษ์โลก สร้างไวรัล รู้คุณค่าทรัพยากรขยะพลาสติกสู่รีไซเคิล [Naewna]
อ่านเพิ่มเติม
ข่าวสาร
30 กันยายน 2561
งานวิ่งสาดศิลป์ Run Fun Art 2018 งานวิ่งรักษ์โลกครั้งแรกในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม