17 สิงหาคม 2560

โครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา

แชร์:

อีกหนึ่งบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันสร้างให้เกิดอาชีพอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่มุ่งหวังจะสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชน ด้วยการสร้างอาชีพ รายได้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนในปี 2553 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ให้การสนับสนุนแก่ชุมชน ทั้งด้านเงินทุนและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขององค์กรมาผสานกับองค์ความรู้ของพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจของชุมชน ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าจากสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ อาทิ มังคุด มะขาม ผักบุ้งทะเล ใบบัวบก และมะหาด มาผสมกับ “กลีเซอรีน” หรือสารให้ความชุ่มชื้นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จึงได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพ ภายใต้ชื่อ “ลุฟฟาลา” (Luffala) และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลาในปี 2554

ปัจจุบัน “ผลิตภัณฑ์ลุฟฟาลา” ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าดีประจำจังหวัดระยอง OTOP 3 ดาวพร้อมกับปรับแบรนด์เพื่อขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าพรีเมียม ตามนโยบาย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ประชารัฐ” ของนายกรัฐมนตรี ทำให้ในปี 2559 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีความสนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ลุฟฟาลา ประกอบด้วย ครีมทามือและสบู่เหลวล้างมือเพื่อนำไปใช้ในห้องน้ำสำหรับผู้โดยสารบนเครื่องบินของสายการบินไทยด้วย

ความสำเร็จในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสามัคคีของคนในชุมชนหนองแฟบ จังหวัดระยอง จากก้าวแรกมาจนถึงการเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในปัจจุบัน ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลายังเปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนการผลิตเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจประกอบอาชีพผลิตสบู่อีกด้วย และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนต่อเนื่องไปในอนาคต

โครงการ: ลุฟฟาลา

ความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม: Brand

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นจากการใช้กลีเซอรินของ บริษัทฯ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาท้องถิ่น

ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ

  • การยอมรับเชิงบวกจากสื่อ และการยอมรับจากชุมชน
  • ปรับปรุงทักษะของพนักงานด้านการสื่อสารและการตลาด โดยการให้คำแนะนำด้านการตลาดแก่ชุมชน
  • การประเมินผลตอบแทนการลงทุนด้านสังคม (Social Return on Investment: SROI) ของโครงการแสดงว่า โครงการได้รับผลตอบแทบ 4 บาท จากทุกๆ 1 บาทของเงินลงทุน
  • คะแนนความพึงพอใจของชุมคน เท่ากับ ร้อยละ 85.14
  • เพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (กลีเซอรีน)

ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางสังคม/สิ่งแวดล้อม

  • สร้างรายได้และปรับปรุงความเป็นอยู่โดยการสร้างโอกาสการจ้างงาน
  • สมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับรายได้ประมาณ 2,000-2,500 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ โดยชุมชนได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้นคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 3.8 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์สปา 14 ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) – ไม่ได้ขายเชิงพาณิชย์

Feature Stories

Feature Stories
17 สิงหาคม 2564
เมื่อไบโอพลาสติก ไม่ได้ย่อยสลายได้เสมอไป!!? วิธีสังเกตไบโอแท้หรือไบโอเทียมแบบง่ายๆ
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
28 มิถุนายน 2562
Circular Living Symposium 2019 งานสัมมนาปฏิวัติการใช้ทรัพยากรที่ปลุกพลังว่า Circular Living สามารถทำได้จริงและยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
07 มกราคม 2562
Upcycling the Oceans, Thailand โครงการที่เนรมิตขยะพลาสติกในท้องทะเลให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่น
อ่านเพิ่มเติม