17 สิงหาคม 2560

โครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา

แชร์:

อีกหนึ่งบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันสร้างให้เกิดอาชีพอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่มุ่งหวังจะสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชน ด้วยการสร้างอาชีพ รายได้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนในปี 2553 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ให้การสนับสนุนแก่ชุมชน ทั้งด้านเงินทุนและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขององค์กรมาผสานกับองค์ความรู้ของพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจของชุมชน ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าจากสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ อาทิ มังคุด มะขาม ผักบุ้งทะเล ใบบัวบก และมะหาด มาผสมกับ “กลีเซอรีน” หรือสารให้ความชุ่มชื้นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จึงได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพ ภายใต้ชื่อ “ลุฟฟาลา” (Luffala) และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลาในปี 2554

ปัจจุบัน “ผลิตภัณฑ์ลุฟฟาลา” ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าดีประจำจังหวัดระยอง OTOP 3 ดาวพร้อมกับปรับแบรนด์เพื่อขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าพรีเมียม ตามนโยบาย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ประชารัฐ” ของนายกรัฐมนตรี ทำให้ในปี 2559 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีความสนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ลุฟฟาลา ประกอบด้วย ครีมทามือและสบู่เหลวล้างมือเพื่อนำไปใช้ในห้องน้ำสำหรับผู้โดยสารบนเครื่องบินของสายการบินไทยด้วย

ความสำเร็จในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสามัคคีของคนในชุมชนหนองแฟบ จังหวัดระยอง จากก้าวแรกมาจนถึงการเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในปัจจุบัน ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลายังเปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนการผลิตเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจประกอบอาชีพผลิตสบู่อีกด้วย และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนต่อเนื่องไปในอนาคต

โครงการ: ลุฟฟาลา

ความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม: Brand

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นจากการใช้กลีเซอรินของ บริษัทฯ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาท้องถิ่น

ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ

  • การยอมรับเชิงบวกจากสื่อ และการยอมรับจากชุมชน
  • ปรับปรุงทักษะของพนักงานด้านการสื่อสารและการตลาด โดยการให้คำแนะนำด้านการตลาดแก่ชุมชน
  • การประเมินผลตอบแทนการลงทุนด้านสังคม (Social Return on Investment: SROI) ของโครงการแสดงว่า โครงการได้รับผลตอบแทบ 4 บาท จากทุกๆ 1 บาทของเงินลงทุน
  • คะแนนความพึงพอใจของชุมคน เท่ากับ ร้อยละ 85.14
  • เพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (กลีเซอรีน)

ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางสังคม/สิ่งแวดล้อม

  • สร้างรายได้และปรับปรุงความเป็นอยู่โดยการสร้างโอกาสการจ้างงาน
  • สมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับรายได้ประมาณ 2,000-2,500 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ โดยชุมชนได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้นคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 3.8 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์สปา 14 ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) – ไม่ได้ขายเชิงพาณิชย์

Feature Stories

Feature Stories
05 กรกฎาคม 2564
‘ท็อป-นุ่น’ ตอกย้ำโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ‘เราฝันให้ใกล้ แล้วไปให้ถึงก่อน’ สร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
21 พฤศจิกายน 2563
คิดว่าอะไรดีกับโลกและเรา ก็แค่ลงมือทำ ชวนดู Circular Living ในวงการแพทย์และฟุตบอล (A Day)
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
03 เมษายน 2563
เมื่อพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ร่วมทัพตอบโจทย์ในสถานการณ์โรค COVID-19 และยังช่วยรักษ์โลกได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม