30 กรกฎาคม 2563

Pierro Panier ตะกร้าจักสานจากพลาสติกรีไซเคิล ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แม่บ้านยุคใหม่

แชร์:

ไอเดียในการนำขยะเหลือใช้ภายในโรงงาน ผนวกกับประสบการณ์การใช้งาน สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เหล่าแม่บ้านนักช้อปที่รักษ์สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ด้วยผลงานการออกแบบตระกร้าเปียโร่ (Pierro Panier) ตะกร้าจักสานจากเศษฟิล์มพลาสติก ชื่อนี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส โดยคำว่า Pierro เป็นชื่อที่พ้องเสียงกับคำไทยแปลว่าการถักเปีย ส่วน Pineier แปลว่า ตระกร้า ซึ่งยังเป็นลักษณะเด่นที่นำมาใช้ในการทำชิ้นงานร่วมกันระหว่าง คุณสุธากาญจน์ อักษรกุล ผู้จัดการแผนกนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ซันซีพลาสติก พี.เอส.จำกัด บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายฟิล์มพลาสติก และคุณกรกต อารมย์ดี จาก KORAKOT นักออกแบบผู้ชื่นชอบในงานหัตถกรรม และมีความเชี่ยวชาญด้านการผูกและมัด

Pierro Panier ตะกร้าจักสานจากพลาสติกรีไซเคิล

ทางซันซีพลาสติก มีแรงบัลดาลใจในการนำวัสดุอะไรมาใช้พัฒนาในโครงการนี้ ?

คุณสุธากาญจน์: ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกกำลังสร้างความกังวลให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก ซันซีพลาสติก จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเล็งเห็นว่าการเข้าร่วมโครงการ Upcycling Upstyling จะสามารถตอบโจทย์ความตั้งใจของเรา ดังนั้นจึงเลือกใช้เศษฟิล์มจากกระบวนการแบ่งม้วน ซึ่งเป็นขยะจากกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากที่สุด และทางโรงงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงเศษขยะส่วนนี้ ตลอดจนไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เพราะมีการปนเปื้อนของพวกหมึกพิมพ์/เม็ดสี โดยส่วนมากจะเป็นพลาสติกประเภท PE ที่มีความหนาตั้งแต่ 35-90 micron และความยาวตั้งแต่ 500-6000 m ซึ่งคุณสมบัติเด่นของพลาสติกประเภทนี้ คือ ทนต่อความชื้น และมีขนาดสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดความยาว

คุณสุธากาญจน์ อักษรกุล ผู้จัดการแผนกนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ซันซีพลาสติก พี.เอส.จำกัด

แนวคิดในการออกแบบผลงานชิ้นนี้คืออะไร?

คุณกรกต: "Pierro Panier" ดึงลักษณะเด่นของฟิล์มพลาสติก PE คือ เนื้อมีความนิ่ม และยาว ทนความชื้น สามารถถักได้ ดึงได้ ใช้สัมผัสอาหารได้ ทนแดด เหนียว ยืด และต้องออกแรงดึงมากจึงจะขาดมาใช้ ทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบตระกร้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือน แม่บ้านสามารถนำไปใช้งาน นำไปจ่ายตลาดได้ เพราะพลาสติกสามารถสัมผัสอาหารได้ มีน้ำหนักเบา มีสีสันที่สดใส และมีรูปทรงหลากหลายขนาด เพื่อให้เหมาะสมกับ lifestyle ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าตะกร้าจักสานนี้จะเพิ่มมูลค่าขึ้นจากเศษพลาสติกกิโลกรัมละ 10 - 15 บาท ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 5 - 10 เท่า โดยเลือกใช้เศษฟิล์มจากกระบวนการแบ่งม้วนเป็นวัสดุในการต่อยอดมูลค่าและคุณค่า

คุณกรกต อารมย์ดี จาก KORAKOT

สิ่งที่ได้เรียนรู้ และอุปสรรคที่ต้องก้าวข้ามในการดำเนินงาน?

คุณกรกต: สิ่งที่ได้เรียนรู้คือมุมมองความคิดในด้านที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพลาสติก และผมที่มีความเชี่ยวชาญในการนำมาต่อยอดออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อการทำงานได้สอดประสานกัน ทำให้สามารถมองเห็นเป้าหมายที่ใหญ่และครอบคลุมมากขึ้น ในตอนแรกยังมีอุปสรรคเรื่องของการจะทำอย่างไรให้สามารถปรับทัศนคติของคนไทยเกี่ยวกับการเอาเศษพลาสติกมาใช้เป็นประโยชน์ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ยังติดภาพลักษณ์และความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเศษพลาสติก และอีกความกังวลคือเรื่องกระบวนการที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อให้เหมาะสมกับวัสดุที่เลือกใช้งาน แต่สุดท้ายก็สามารถก้าวข้ามทุกอุปสรรคได้ ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากซันซีพลาสติก

โอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์?

คุณสุธากาญจน์: สามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้อย่างแน่นอน เพราะซันซีพลาสติกมีเศษฟิล์มพลาสติกที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และการนำเศษพลาสติกไปใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อกระบวนการผลิตแบบเดิม โดยคุณกรกตจะยังคงพัฒนาตระกร้าใบนี้ให้มีการใช้สอยที่ง่ายขึ้น และให้คำแนะนำกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านที่สามารถกระจายให้ชาวบ้านช่วยกันถักสานให้เกิดเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์

ในอีกไม่นานนี้ เชื่อว่า "Pierro Panier" ตะกร้าจักสานจากเศษฟิล์มพลาสติก จะเป็นทางเลือกลำดับต้น ๆ ของเหล่าแม่บ้านนักช้อปสายกรีน ด้วยคุณสมบัติที่รักษ์โลก มีน้ำหนักเบา สีสันสวยงาม ช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยของคุณแม่บ้านเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย โดยสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวและช่องทางการจัดจำหน่ายของตะกร้าจักสานใบนี้ได้จากทางหน้าแฟนเพจ Facebook ของ GC ต่อไป

Feature Stories

Feature Stories
12 เมษายน 2565
“ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ถนนในฝัน ต้นแบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพของพวกเราทุกคน
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
15 ตุลาคม 2564
“กิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล” เปลี่ยนขยะมาเป็นบุญเพียงแค่คุณรู้จักแยก
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
03 กันยายน 2562
Wise Management วิธีบริหารและจัดการความเข้าใจว่าพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย หากทุกคนใช้อย่างถูกวิธี และการเปลี่ยนวิธีทำงานเพื่อเข้าใจผู้ใช้มากขึ้น ของผู้บริหารบริษัทสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์
อ่านเพิ่มเติม