15 พฤศจิกายน 2561

เส้นทางแห่งความสุข...ด้วย Bio Plastics พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้

แชร์:

ด้วยสถานการณ์ขยะพลาสติกในปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้น ประชาชนเริ่มมองหาวิธีบริหารจัดการขยะพลาสติกให้ถูกต้องและยั่งยืน ทั้งในรูปของการลดจำนวนการใช้, การคัดแยกขยะ ตลอดจนการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกยังเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และด้วยการบริหารจัดการที่จำกัด ทำให้แนวโน้มขยะพลาสติกยังคงเพิ่มปริมาณขึ้น GC ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะ ซึ่งประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกให้ความสำคัญ

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Compostable Plastic) จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยพลาสติกทั้งสองประเภทนี้ถูกคิดค้นจากเทคโนโลยีขั้นสูงที่ผลิตจากพืช อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด สามารถย่อยสลายกลายเป็นดินได้ตามธรรมชาติในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมตามมาตรฐาน และวันนี้ GC ได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ 100% หรือ BioPBSTM ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกทั่วไปในการผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ นำมาผลิตขึ้นรูปเป็นช้อนส้อม หลอด ฟิล์มถุงบรรจุภัณฑ์อาหารแห้ง รวมทั้ง การนำมาเคลือบแก้วกระดาษใส่เครื่องดื่มร้อนและเย็น และที่สำคัญ บรรจุภัณฑ์จาก BioPBSTM สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติด้วยองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ คือ ความร้อน ความชื้น และแบคทีเรียในดิน ทำให้สามารถทิ้งไปพร้อมๆ กับขยะอินทรีย์ หรือเศษอาหารได้เลย หลังการฝังกลบลงดินจะถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและกากชีวมวล โดยไม่ทิ้งสารตกค้างใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้วยกระดาษลายเบญจรงค์ย่อยสลายได้ ที่ https://csc.pttgcgroup.com/th/portfolio/detail.html?contentID=11129 โดยถ้วยกระดาษลายเบญจรงค์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ทาง GC โดย Customer Solution Center ร่วมมือกับผู้ผลิตกระดาษเคลือบ, โรงงานขึ้นรูปถ้วยกระดาษและดีไซน์เนอร์ ในการสร้างความตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้มาใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่แล้วทิ้ง โดยไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติก

Feature Stories

Feature Stories
26 มิถุนายน 2563
Tech Trend 2020 เกาะให้ทัน ก่อนตกขบวน! ( ตอนแรก )
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
23 เมษายน 2563
วิธีการรับมือกับความเครียดจากวิกฤติ COVID-19
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
05 กันยายน 2562
ทำไมต้องรีไซเคิลพลาสติก
อ่านเพิ่มเติม