07 ตุลาคม 2565

จัดหาอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน? เข้าใจต้นทางการผลิต ที่ตอบโจทย์ ESG

แชร์:

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ธุรกิจจะยั่งยืนไม่ได้ หากขาดการจัดหาวัตถุดิบ สินค้า บริการ และกระบวนการผลิตที่ดี ดังนั้น การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Procurement ตามหลัก ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) จึงมีบทบาทสำคัญ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดหา ผลิต และส่งมอบสินค้าและบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน รวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ช่วยลดความเสี่ยงการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต และเพิ่มความมั่นใจว่าองค์กร จะอยู่ได้ในอนาคต (Future-Proof)1 นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความยืนหยุ่นในการบริหาร Supply Chain ช่วยบริหารจัดการคู่ค้าด้วยความยั่งยืน (Sustainable Supplier Management)2 โดยจะเห็นได้จากองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Responsible Supply Chain) จะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 5-20% ช่วยลดต้นทุนลง 5-15% เพิ่มมูลค่าแบรนด์ได้ 10-25% และลดความเสี่ยงกรณีคู่ค้าไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอีกด้วย³

ESG และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement)

ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ( Governance ในบริบทบางองค์กร อาจรวมถึง Economic ) เป็นหลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่มุ่งสร้างสมดุลทั้งธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้โลกใบนี้ ในระยะยาว ซึ่ง ESG กำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ธุรกิจวันนี้ จึงนำหลัก ESG มาใช้ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องมีความยั่งยืน4 เพราะถือเป็นกระบวนการต้นทางที่สำคัญต่อการผลิต โดยการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

E (Environment): Green Procurement การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมเครือข่ายคู่ค้าสีเขียวตลอด Supply Chain

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) คือ กระบวนการจัดหาที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก เท่านั้น แต่ยังต้องสนับสนุนคู่ค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังที่ GC สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสีเขียวระหว่างบริษัทฯและคู่ค้า ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาศักยภาพคู่ค้าทั้งในเชิงพาณิชย์ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี อาทิ การจัดอบรมคู่ค้าในโครงการ GC Management System (GCMS) และการจัดประชุมคู่ค้าประจำปี เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเราสนับสนุนให้คู่ค้า ขอรับฉลากสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาซื้อจ้าง อีกทั้งส่งเสริมให้คู่ค้า จัดทำรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สืบค้นง่ายขึ้น พร้อมทั้งวางแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับคู่ค้า เช่น เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เราได้พัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อกำหนดคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยพบว่า ร้อยละ 37 ของยอดจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม⁶

จากการดำเนินงานด้าน Green Procurement ทำให้เราได้รับการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับ 5 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 (ตั้งแต่ปี 2558) โดยระดับ 5 ถือเป็นระดับสูงสุดที่เรียกว่า Green Network (เครือข่ายสีเขียว)5 ซึ่งจะมอบให้องค์กรที่ขยายขอบเขตการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จากภายในสู่ภายนอกองค์กรตลอด Supply Chain พร้อมสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้ด้วย

S (Social) : Labor Practices & Human Rights
เน้นแนวปฏิบัติด้านแรงงาน และสิทธิมนุษยชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเพื่อนร่วมงาน

เมื่อกล่าวถึงกระบวนการผลิตที่ดีนั้น บุคคลากรผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในองค์กรของเรา คู่ค้า ชุมชน ตลอดจนทั้ง Supply Chain ล้วนเป็นเพื่อนร่วมงานทั้งสิ้น ซึ่งเพื่อนร่วมงานเหล่านี้ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ถูกใช้แรงงานโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งการดำเนินงานที่ว่านี้ ต้องมีกระบวนการประเมิน และมีแนวทางลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัย ดังเช่นที่ GC มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมของบริษัทฯตลอด Supply Chain 100 % และมีแนวทางควบคุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ เรายังมีมาตรฐานการบรรเทาผลกระทบจากประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เช่น จัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า พร้อมทั้งสื่อสารให้คู่ค้าที่สำคัญและเกี่ยวข้องทุกราย รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้มีการจ้างแรงงานผิดกฏหมาย โดยในปี 2564 ไม่พบเคสเคส/ร้องเรียน การละเมิดสิทธิแรงงาน หรือ สิทธิมนุษยชน และอัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานที่รุนแรงถึงขั้นต้องหยุดงานมีแนวโน้มลดลง7

G (Governance & Economic ) : Business Ethics, Anti-Corruption & Efficiency
รักษาจรรยาบรรณธุรกิจ ต่อต้านการทุจริต และเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

องค์ประกอบสุดท้ายที่ขาดไม่ได้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน คือ ต้องมีความโปร่งใส ตามจรรยาบรรณธุรกิจ ต่อต้านการทุจริตคปรัปชั่น เพื่อให้กระบวนการผลิต และกระบวนการทำงาน มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังเช่นที่ คู่ค้ารายใหม่ของ GC ทั้ง 100 % รับทราบ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ในการจัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ อีกทั้งเรายังส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผ่านกิจกรรม Corporate Governance Development เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังได้ทำการประเมินด้าน ESG กับกลุ่มคู่ค้าที่สำคัญ (1st Tier Critical Supplier) ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ GC มีปริมาณธุรกรรมมูลค่าสูง (High Spending) ทั้งสิ้น 91 ราย ด้าน ESG โดยพบว่าไม่มีการดำเนินงานที่ละเมิดด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณทางธุรกิจ อีกทั้งไม่ละเมิดต่อสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนด้วย9

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เรานำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Robotic Process Automation หรือ RPA มาใช้ในการจัดหาสินค้าบางกลุ่ม และปรับปรุงประสิทธิภาพให้ครอบคลุมการทำงานหลายกลุ่มสินค้า ซึ่ง RPA นอกจากจะช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และแม่นยำในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบด้วย 10

จากการนำหลัก ESG มาใช้เป็นแนวทางจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) ผลที่ได้นั้นนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจในกระบวนการจัดหา ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของกระบวนการผลิตแล้ว ยังช่วยดึงดูดและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้าที่ดี ซึ่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการทำงาน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการ อีกทั้งยังดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ด้านบุคคลากรในองค์กร ตลอดทั้ง Supply Chain ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ดีต่อคุณภาพชีวิต เป็นธุรกิจโปร่งใส ที่นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความเชื่อมั่นว่า มีประโยชน์ต่อโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน

#GCร่วมส่งต่อโลกที่ยั่งยืน
#GCยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี
#GCChemistryforBetterLiving

แหล่งอ้างอิง

1 แหล่งอ้างอิง: SET จัดทำและเผยแพร่คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (SET’s Supplier Code of Conduct) ให้คู่ค้าของตลาดหลักทรัพย์ฯ รับทราบตั้งแต่ปี 2558 https://bit.ly/3RdCBIY

2 แหล่งอ้างอิง: การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? (2565). เว็บไซต์ https://supplychainguru.co.th/articles/sustainability/what-is-sustainable-procurement-and-its-importance/

3 แหล่งอ้างอิง: งานวิจัย Beyond Supply Chains - Empowering Responsible Value Chains โดย World Economic Forum (ปี 2015)

4 แหล่งอ้างอิง: Sustainable Procurement – การจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน. (2565). เว็บไซต์ https://www.sdgmove.com/2021/07/29/sdg-vocab-40-sustainable-procurement/

5 แหล่งอ้างอิง: เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรม. (2565). เว็บไซต์ https://greenindustry.diw.go.th/webgi/green-industry-condition/

6 แหล่งอ้างอิง: การจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

7 แหล่งอ้างอิง: การประเมินความเสี่ยงและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

8 แหล่งอ้างอิง: การตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

9 แหล่งอ้างอิง: การบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

10 แหล่งอ้างอิง: ความท้าทายและการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

Feature Stories

Feature Stories
13 ธันวาคม 2565
เลือกอนาคตให้โลก เลือก UPTOYOU ผลิตภัณฑ์น้องใหม่สายรักษ์โลก
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
16 กรกฎาคม 2564
ปุ๋ยอินทรีย์ตราใบจาก ปุ๋ยที่สร้างรอยยิ้มให้ต้นไม้ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
01 กรกฎาคม 2563
อัพ Eco-Design ให้มีสไตล์! กับโครงการ “Upcycling Upstyling” โดย GC [ Iameverything ]
อ่านเพิ่มเติม