ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ ได้วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงความสำคัญกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ที่อาจก่อให้เกิดผล กระทบวงกว้างต่อบริษัทฯ และ/หรืออุตสาหกรรมในช่วงระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า จากระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) โดยมีแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลงทุนในเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และการใช้พลังงานทดแทน รวมถึงการกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Price)

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) ด้านการลดก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรอย่างชัดเจน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้สอดคล้องกับทิศทางการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนานาชาติทั่วโลก อาทิ เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (NDCs) เป้าหมายตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) จากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 และเป้าหมายที่ 13 ขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ตลอดจนโครงการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอน หรือ CDP และโครงการสร้างแนวร่วมกับชุมชนและผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อมุ่งไปสู่การแสดงความรับผิดชอบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

เป้าหมายที่ 7 คือ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (UN SDG 7: Affordable and Clean Energy)

เป้าหมายที่ 13 คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN SDG 13: Climate Action)

การจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัทฯ ได้จัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยอ้างอิงวิธีคำนวณตามมาตรฐาน ISO 14064-1:2006, The Greenhouse Gas Protocol, American Petroleum Institute (API 2009), Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) 2006 และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ และรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ

GC Greenhouse Gas Report 2020

การพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ มีการพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ ทั้ง Physical Risk และ Transition Risk ด้วยแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และมาตรการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่หน่วยงานสากล IPCC ที่ทำประเมินปริมาณความเข้มข้นของ GHG ในอนาคตในกรณีต่างๆ (Representative Concentration Pathway, RCP) และการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

TCFD Report 2023

sociated w has assessed the Representative Concentration Pathways (RCPs) and analyzed climate impacts.

Physical Risks

ภายใต้สถานการณ์ที่การควบคุมการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศทั่วโลกไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ทั้งในด้านของภัยแล้ง น้ำท่วมสูง การเพิ่มความถี่และความรุนแรงของการเกิดพายุ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ตลอดจนคลื่นความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) หรือคู่ค้าของบริษัทฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาและรับมือผลกระทบนั้น ดังต่อไปนี้

  • มาตรการบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง

    ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิต เพิ่มปริมาณการนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยี Reverse Osmosis การจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และการเฝ้าระวังปริมาณน้ำสำรองในพื้นที่ และหาแหล่งวัตถุดิบสำรองในกรณีที่คู่ค้าจำเป็นต้องหยุดการผลิตจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ

  • มาตรการบรรเทาจากน้ำท่วม

    ในส่วนของโรงงาน บริษัทฯ ได้เตรียมมาตรการและอุปกรณ์เพื่อป้องกันเครื่องจักรเสียหายจากน้ำท่วม และได้เตรียมเส้นทางสำรองในการขนส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าในกรณีน้ำท่วมเส้นทาง

ภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ GC

ความเครียดน้ำ / การขาดแคลนน้ำ (Water Stress)
  • ความเครียดน้ำ อาจส่งผลให้ปริมาณน้ำจืดไม่เพียงพอ และทำให้การผลิต สาธารณูปโภค และหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องต้องหยุดดำเนินการ
  • ความเครียดน้ำ อาจส่งผลให้ต้นทุนน้ำจืดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้โรงงานมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้านการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำจืดมาใช้ เช่น เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล เพื่อให้ได้น้ำจืด (desalination)
  • ความเครียดน้ำ ที่เกิดขึ้นในชุมชนข้างเคียงโรงงาน อาจทำให้เกิดความท้าทายด้านการแบ่งน้ำจืด ซึ่งอาจส่งผลให้ชุมชนรอบรั่วโรงงานมีมุมมองเชิงลบต่อการดำเนินกิจการของบริษัทฯ
อุทกภัย (Flooding)
  • น้ำท่วม อาจทำให้สินทรัพย์ สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเสียหาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้หน้าดินพังทลาย
  • อาจทำให้เกิดความเสียหายจากการหยุดชะงัก และความเสียหายจากการเคลื่อนย้ายสิ่งของและบุคคลากรหน้างาน
  • อาจทำให้ที่ดินของบริษัทฯ มีมูลค่าลดลง
  • นอกจากนี้ ยังทำให้ความปลอดภัยของบุคคลากร และโครงสร้างพื้นฐานลดลงด้วย
วาตภัย (Wind and Cyclone )
  • วาตภัย หรือภัยธรรมชาติที่เกิดจากลมพายุ อาจส่งผลเสียต่อโครงสร้างพื้นฐาน โรงงาน สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และของมีค่าของบริษัทฯ
  • อาจทำให้ต้นไม้ล้มตาย รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีความสูงพังทลายลง ส่งผลให้ผลิตภาพลดลง อีกทั้งความปลอดภัยในการทำงานกลางแจ้งลดลงด้วย
  • อาจทำให้ได้รับความลำบากจากฝุ่นผง และละอองจากวัสดุต่างๆที่ฟุ้งกระจายในอากาศ
  • บุคคลากร และโครงสร้างพื้นฐานมีความปลอดภัยลดลง
ความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเล (Sea Level)
  • หากระดับน้ำทะเลหนุนสูง และเข้าท่วมพื้นที่ที่มีโรงงานของบริษัทฯ เป็นการถาวร อาจทำให้เกิดความสูญเสียต่อพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานของบริทฯ
  • อาจทำให้เกิดความสูญเสียต่อมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินของบริษัทฯ อีกทั้งส่งผลสืบเนื่องต่อความปลอดภัยในเชิงโครงสร้าง กำแพงกั้น และโครงสร้างอื่นๆด้วย
  • หากน้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่ปฏิบัติงาน อาจทำให้น้ำบาลดาลปนเปื้อน
ความร้อนสูงเกินไป (Extreme Heat)
  • ความร้อนที่สูงเกินไปแบบ Extreme Heat อาจส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานกลางแจ้ง
  • อาจทำให้มีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ทั้งในระดับปฏิบัติการ และระดับบริหารจัดการ
  • อาจทำให้มีความต้องการระบบหล่อเย็นภายในอาคาร (Indoor Cooling) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงขึ้น
  • อาจทำให้ระบบหล่อเย็นทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านระบบล่ม
  • ความร้อนจากหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โรงงาน อาจส่งผลให้กระทบต่อวิถีชีวิตคนในพื้นที่เมือง ซึ่งโรงงานตั้งอยู่ได้
  • ความร้อนที่สูงเกินไป อาจส่งผลกระทบให้กระบวนการทำงานที่มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิต้องหยุดชะงัก อีกทั้งส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วย

Transition Risks

ภายใต้สถาณการณ์ที่การควบคุมการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศทั่วโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง Demand-supply โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้บริษัทได้ประเมิน ผลกระทบทางธุรกิจตลอดถึงการจัดเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาและรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอ้างอิงจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามสถานการณ์ Accelerated Energy transition (HIS, 2021) ที่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสดังนี้

Implication to GC Business

Transition Risk Financial Implications to GC Business and Measures

GC’s TCFD Report 2022

เพื่อบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าวนี้ บริษัทฯ จัดทำ Decarbonization Pathways เป็นแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนสู่เป้าหมาย Net Zero ด้วย Low Carbon Transition Framework โดยมีการดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ Efficiency-Driven, Portfolio-Driven และ Compensation-Driven

Back to Net Zero