โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand มุ่งให้ประชาชนช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติก ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศไทย นำกลับมาแปรรูปเป็นเส้นใย และทอเป็นสินค้าเพิ่มมูลค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่า ยังสามารถนำไปสู่การลดขยะในทะเลและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์ และสวยงามเพื่อการจัดการขยะในทะเลอย่างยั่งยืน
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง 3 พันธมิตร คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) และ มูลนิธิอิโคอัลฟ์ จากประเทศสเปน ในปี 2560 โดยมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการอัพไซคลิ่ง แปรรูปขยะเป็นพลาสติกรีไซเคิลและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อลดปริมาณขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand (UTO) 2564 – 2565
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ร่วมมือกับ กรมเจ้าท่า (จท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และ บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด (KKF) ต่อยอดโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand บริหารจัดการขวดพลาสติกใช้แล้ว (PET) และ แหอวนใช้แล้ว จากแหล่งน้ำ แม่น้ำ และทะเล โดยมี YOUเทิร์น ขนส่งพลาสติกใช้แล้วดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการอัพไซเคิล (Upcycle) และผลิตเป็นสินค้าที่มีมูลค่า นำรายได้กลับคืนสู่สังคม
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand 2564 – 2565 มีระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิ Ecoalf ผู้ก่อตั้งโครงการ Upcycling the Oceans ซึ่งการขยายผลจากโครงการนี้จะเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้ขยายไปสู่วงกว้าง รวมถึงความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง 3 พันธมิตร คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) และ มูลนิธิอิโคอัลฟ์ จากประเทศสเปน ในปี 2560 โดยมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อลดปริมาณขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand 2564 – 2565 เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง 4 พันธมิตร คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) กรมเจ้าท่า (จท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และ บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด (KKF) โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และแบรนด์ Qualy ผสมผสานแนวคิดการเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกใช้แล้ว เพื่อให้เกิดการใช้งานได้จริง และการเน้นย้ำความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
มุ่งสร้างความตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะ
โครงการดังกล่าว มุ่งสร้างความตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศไทยรวมถึงพื้นที่ชายฝั่ง พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดเก็บขยะพลาสติกประเภท PET เช่น ขวดพลาสติกใส และขยะจากเศษแหอวนซึ่งเป็นพลาสติกประเภทไนลอน ที่ทิ้งในทะเลและพื้นที่ชายฝั่งมาใช้ซ้ำโดยการแปรรูปเป็นวัตถุดิบและพัฒนาออกแบบเป็นสินค้าแฟชั่น ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างคุ้มค่าและยาวนาน มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ส่งเสริมการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านการแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างยั่งยืน
สำหรับพันธมิตรในโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand 2564 – 2565 มองเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้ว ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบให้ได้มากที่สุด สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศด้วยการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรของประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand มีระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี คือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ถึงเดือนมกราคม 2563 มีพื้นที่ดำเนินการนำร่อง ได้แก่ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงของประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักดำน้ำ ชุมชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป
โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand 2564 – 2565 นับเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนให้คนไทยมีความตระหนักถึงปัญหาพลาสติกใช้แล้วที่ตกค้างในธรรมชาติ ทั้งในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร เพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบด้วย YOUเทิร์น ที่ริเริ่มโดย GC ก่อนนำมาอัพไซเคิล (Upcycle) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม ด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อน ซึ่งทั้งโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand UTO และ YOUเทิร์น ล้วนได้รับการรับรองว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน BS 8001 : 2017 หรือมาตรฐานสากลด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเรียบร้อยแล้ว นับเป็นการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบองค์รวมที่มีการผนวกนวัตกรรม และจะเป็นต้นแบบให้เกิดการขยายผล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เกิดความสมบูรณ์แบบมากที่สุด
Special Collection ผลิตภัณฑ์ของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand 2564 – 2565 ในส่วนของขวดพลาสติกใช้แล้ว (PET) ได้รับการออกแบบโดยหม่อมหลวงจิราธร จิรประวัติ ศิลปิน และ Fashion Designer ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย และสินค้าจากเศษแหอวนใช้แล้ว จากแหล่งน้ำ แม่น้ำ และทะเลได้รับการออกแบบโดย Qualy ซึ่งเป็นแบรนด์ของไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
GC มีความเชื่อและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน ในการสร้างความสมดุลทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตไปในอนาคตร่วมกัน
GC และ โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมอัพไซคลิ่ง ขยะพลาสติก เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการสร้าง Sustainable Living ร่วมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และลดโลกร้อนบนพื้นฐานของความยั่งยืน ที่จะสามารถช่วยสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน
ข้อมูล ณ มีนาคม 2564