Circular Living Symposium 2019
Upcycling Our Planet ได้รวบรวมผู้นำระดับโลกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาให้คุณได้รับฟังความคิดและแบ่งปันประสบการณ์ร่วมอย่างใกล้ชิด คุณจะได้มุมมองและแรงบันดาลใจเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการ Upcycle การ Recycle การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย พร้อมรับทราบถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจที่องค์กรชั้นนำของไทยและหลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสตาร์ทอัพและผู้นำความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทาง Circular Living ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน รับฟังการอภิปรายกลุ่มย่อยที่จะช่วยจุดประกายให้คุณได้นำแนวทาง Circular Living มาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต
มาร่วมเปลี่ยนโลก เปลี่ยนไลฟ์สไตล์...Upcycling Our Planet
Circular Living Symposium 2019: Upcycling Our Planet
The Athenee Hotel Bangkok Friday, 28 June, 2019 08:30 until 17:00 hrs.
Circular Living สำคัญอย่างไร ทำไมคุณต้องเปลี่ยนโลก!!
เมื่อวิกฤติด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ความขาดแคลนถาโถมสู่มนุษยชาติ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องให้ความสำคัญกับ “การปฏิวัติทรัพยากร” อย่างจริงจัง และสร้างสรรค์แนวทางใหม่ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและหมดไปหากเราไม่ปฏิวัติการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างทางเลือกใหม่ในการใช้ชีวิตหรือทำธุรกิจแบบยั่งยืน แนวคิด Circular Living จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ไขสู่การขับเคลื่อนการปฏิวัติทรัพยากร
“สังคมที่ขาดการคิดก่อนใช้” ก่อให้เกิดปริมาณขยะที่มากขึ้นจนยากต่อการจัดการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนล้วนตระหนักถึงวิกฤติการณ์ดังล่าว และเป็นจุดเริ่มต้นของการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ เพื่อลดการสร้างผลกระทบต่อโลกเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
เศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งเน้นในหลักการ 5 Rs ได้แก่ Reduce การลดการใช้ Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การแปรรูปมาใช้ใหม่ Renewable การใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน และ Refuse การปฏิเสธการใช้ นอกจากนี้ยังรวมอีกหนึ่งหลักการเข้าไว้ด้วย คือ Upcycle ซึ่งหมายถึงการแปรรูปวัสดุที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่โดยสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ ด้วยการนำแนวทาง Circular Living มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
The Circular Living Symposium 2019: Upcycling Our Planet ได้รวบรวมผู้นำระดับโลกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาให้คุณได้รับฟังความคิดและแบ่งปันประสบการณ์ร่วมอย่างใกล้ชิด คุณจะได้มุมมองและแรงบันดาลใจเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการ Upcycle การ Recycle การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย พร้อมรับทราบถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจที่องค์กรชั้นนำของไทยและหลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสตาร์ทอัพและผู้นำความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทาง Circular Living ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน รับฟังการอภิปรายกลุ่มย่อยที่จะช่วยจุดประกายให้คุณได้นำแนวทาง Circular Living มาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต
มาร่วมเปลี่ยนโลก เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ...Upcycling Our Planet
GC เชื่อในเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้พันธกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต GC นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในโครงการที่สร้างส่วนร่วมในสังคมเพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน คือ โครงการ “Upcycling the Oceans, Thailand”
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาพลาสติกเหลือใช้โดยการนำมาเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปขวดพลาสติกใช้แล้วที่รวบรวมจากในทะเลและชายหาดจากทั่วประเทศมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่ทันสมัย GC ขอร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทยในการดำเนินชีวิตแบบ Circular Living ซึ่ง GC เชื่อมั่นว่าทุกคนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะมีชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆ บนโลกใบนี้ได้โดยการใช้ชีวิตตามแนวทาง Circular Living
เพื่อตอกย้ำแนวทาง Circular Living นี้ GC ได้ร่วมกับ National Geographic สื่อชั้นนำระดับสากล และพันธมิตร จัดงาน Circular Living Symposium 2019: Upcycling Our Planet ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองและส่งเสริมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก รวมทั้งองค์กรและบุคคลต่างๆ ที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติของเรา สร้างแนวทางการปฏิบัติจากหลากหลายภาคส่วน ใช้ชีวิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้โลกของเราน่าอยู่อย่างยั่งยืน
Speaker
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
จากประสบการณ์หลายทศวรรษ CEO ของ GC บริษัทปิโตรเคมีไทยที่ก้าวไกลระดับโลก พร้อมนำ GC ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่นำเรื่อง Circular Living มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทั้งธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ดร. วิจารย์ สิมาฉายา
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมความคุมมลพิษ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองปลัดกระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต
กรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และกรรมการอำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ผู้นำระดับโลกในด้านหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
นอกจากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม-ปิโตรเคมี และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว คุณหญิงทองทิพ ยังเป็นผู้นำในการริเริ่มการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า พลิกวิกฤติด้วยนวัตกรรม (Resource Revolution) ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศที่กำลังเดินไปสู่ยุค Industry 4.0 เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
อาเธอร์ หวง
ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท Miniwiz ไต้หวัน
ผู้นำระดับโลกด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
อาเธอร์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะเจ้าของแนวคิดสุดปัจเจก นั่นคือ "ขยะคือสิ่งที่น่าหลงใหลและน่าดึงดูด (Trash is sexy)" อาเธอร์เป็นทั้งวิศวกรโครงสร้าง สถาปนิก และผู้บุกเบิกโซลูชั่นวัสดุก่อสร้างแบบวงจรปิด เขาได้ก่อตั้งบริษัท Miniwiz ในปี 2548 เพื่อแปรรูปวัสดุที่ใช้แล้วโดยกระบวนการ Upcycling สร้างมูลค่าเพิ่มและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงการนำขยะจากผู้บริโภคมาแปรรูปโดยนวัตกรรมให้เป็นวัสดุตกแต่งภายในร้านค้า วัสดุใช้ในโรงงาน และสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย อาเธอร์ เป็นแรงสำคัญในการนำบริษัท Miniwiz คว้ารางวัลด้านการเป็นผู้นำและเป็นผู้มีอิทธิพลด้านนวัตกรรมต่างๆ ที่มีส่วนในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคในระดับโลก
เจอรัล เนเบอร์ ตัวแทนจากมูลนิธิเอลเลน แมคอาร์เธอร์ สหราชอาณาจักร
A Global Leader in Circular Economy Thinking
ผู้นำระดับโลกในด้านหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
มูลนิธิเอลเลน แมคอาเธอร์ ก่อตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2553 และนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นครั้งแรกของโลก นับตั้งแต่นั้นองค์กรการกุศลแห่งนี้ ได้ขึ้นแท่นสู่การเป็นผู้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและนำแนวคิดนี้มาใช้ในกระบวนการการตัดสินใจขององค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาทั่วโลก
ลิลลี่กอล เซดาแกต
นักสำรวจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และผู้บรรยายในสื่อมัลติมีเดีย สหรัฐอเมริกา
ผู้มีบทบาทในการชักชวนชุมชนต่างๆ ทั่วโลกให้หันมาจัดการกับวิกฤตการณ์ขยะพลาสติกบนโลก
ลิลลี่กอลเป็นนักสื่อสารมวลชนด้านสิ่งแวดล้อมที่คร่ำหวอดทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ ระบบ และบุคคล โดยใช้อินโฟกราฟฟิก มิวสิควิดีโอ แผนที่ และการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนความคิดของผู้คนที่มีต่อขยะ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่าและใช้ได้เพียงครั้งเดียว ให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่า นอกจากนี้ ลิลลี่กอลยังเป็นกระบอกเสียงให้กับโครงการระดับโลก "Planet or Plastic?" ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกอีกด้วย
ไอรีน ดิแอซ รูอิซ
ผู้จัดการทั่วไป มูลนิธิอีโคอัลฟ์ สเปน
ผู้สร้างสรรค์เสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ทำจากวัสดุเหลือใช้
ไอรีนเป็นหนึ่งในทีมงานของมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ผู้ดำเนินโครงการ "Upcycling The Oceans" โดยโครงการนี้มุ่งเน้น การทำกิจกรรมเก็บขยะที่กำลังส่งผลกระทบต่อท้องทะเล เพื่อนำไปแปรรูปเป็นเส้นใยคุณภาพสูง ใช้ผลิตสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่มีคุณภาพและได้รับการออกแบบเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์คุณภาพอื่นๆ นอกจากนี้ มูลนิธิอีโคอัลฟ์ยังมุ่งมั่นเพื่อหยุดยั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่คำนึงถึงผลกระทบอีกด้วย
สจ๊วต ฮอว์กกินส์
ผู้อำนวยการด้านกิจการสาธารณะและความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน บริษัท โคคา-โคลา จำกัด (มหาชน) ภูมิภาคอาเซียน
สจ๊วต ฮอว์กกินส์ ผู้อำนวยการด้านกิจการสาธารณะและความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน โคคา-โคลา ภูมิภาค อาเซียน ประเทศไทย สจ๊วต ได้ทำงานที่โคคา-โคลา ในเอเชีย เป็นเวลากว่า 20 ปี และประจำที่ประเทศไทยกว่า 10 ปี โดยรับผิดชอบการดำเนินกลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและความยั่งยืนของโคคา-โคลา รวมถึงการจัดโครงการและการแสวงหาพันธมิตรทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขามีส่วนช่วยในการริเริ่มและพัฒนา การเปิดตัว และการดำเนินโครงการเพื่อความยั่งยืนของโคคา-โคลา ในภูมิภาค อาทิ โครงการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิง โครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการภายใต้แนวคิดโลกไร้ขยะ
ปฏิภาณ สุคนธมาน
ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลายของ GC คุณปฏิภาณได้ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในหลากหลายอุตสาหกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างความร่วมมืออันเป็นรากฐานต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นด้านการประเมินถึงผลกระทบต่างๆ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในทุกภาคส่วนขององค์กรและในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งหมด คุณปฏิภาณเชื่อมั่นว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือในการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยในงานนี้ คุณปฏิภาณจะมาแบ่งปันวิสัยทัศน์และแนวทางของ GC ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของสังคมไทยและสังคมโลกให้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
คริสเตียน ลารา
ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Reciclapp
ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Reciclapp แอพพลิเคชั่นที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น The Uber of Recycling เป็นแอพเรียกรถเก็บขยะรีไซเคิล คริสเตียน เป็นนวัตกรและผู้ประกอบการสังคมที่ได้รับการเสนอชื่อติดหนึ่งใน 100 ผู้นำรุ่นใหม่ของชิลีในปี 2560 จัดโดยหนังสือพิมพ์ El Mercurio ของชิลี โดยเขาเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด (อายุ 24 ปี) เขาได้รับรางวัล Premios Latinoamérica Verde ประจำปี 2018 ซึ่งเป็นรางวัลด้านความยั่งยืนแห่งลาตินอเมริกา สำหรับ แอพ Reciclapp กวาดรางวัลระดับประเทศและระดับสากลต่างๆ รวมถึงรางวัลผู้ประกอบการแห่งปี ประเภท Smart City จากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจชิลี (Corfo) และรัฐบาลประเทศชิลี ในเดือนธันวาคม 2561 และได้รับการยกย่องให้เป็น App of the month และ Application of the moment จากแอปเปิล ในเดือนเมษายน 2561
ดร. โทมัส โคช์ส
พาร์ทเนอร์อาวุโส บริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ดำเนินการอภิปราย
ดร.จี ฮุน คิม
พาร์ทเนอร์และกรรมการผู้จัดการ บริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป ประเทศเกาหลี
ผู้ดูแลรับผิดชอบกิจการด้านพลังงานในเอเชียแปซิฟิกให้กับบริษัท Boston Consulting Group ให้คำปรึกษาในด้านการบริหารจัดการระดับโลกที่ช่วยให้ลูกค้าสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งในแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง และสั่งสมประสบการณ์มายาวนานจนมีความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ทั้งในส่วนของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจและการพัฒนากลยุทธ์โดยยึดความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเขาจะมานำเสนอวิสัยทัศน์ว่า บริษัทระดับสากลในอุตสาหกรรมพลังงานนั้นมีแนวทางในการนำเอาหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างไร
อนุพงษ์ มุทราอิศ
ผู้อำนวยการ บริษัท เอนเนอร์จี แอนด์ เอนไวรอนเมนท์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จำกัด (EEG)
นับตั้งแต่ปี 2557 EEG ขึ้นแท่นเป็นองค์กรชั้นนำของไทยด้านการจัดการขยะด้วยการใช้โมเดลธุรกิจ "Zero Waste, Zero Landfill" ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทย โดยผสมผสานแนวทางในการบริหารจัดการขยะที่ดีที่สุดกับเทคโนโลยีขั้นสูงจากหลายประเทศมาประยุกต์ใช้กับโครงการต่างๆ เช่น โครงการโรงงานต้นแบบขยะเป็นศูนย์อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกของไทย โดยคุณอนุพงษ์จะมาร่วมแบ่งปันความรู้จากการดำเนินโครงการจัดการขยะเต็มรูปแบบใน 3 พื้นที่ของประเทศ เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจว่า ทุกคนในสังคมมีบทบาทสำคัญในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และตอกย้ำถึงสิ่งที่เราต้องทำเพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมที่ไร้ขยะในอนาคต
ดร.สมไทย วงษ์เจริญ
ประธานกรรมการ บริษัท วงษ์พาณิชย์ จำกัด
ดร. สมไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของบริษัท วงษ์พาณิชย์ จำกัด ผู้ดำเนินการธุรกิจรีไซเคิลครบวงจรเพื่อจัดการขยะหลากหลายประเภทจากภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐ ในปี 2542 ดร.สมไทยมองเห็นโอกาสที่จะมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการขยะ โดยการส่งเสริมชุมชนและผู้ด้อยโอกาสร่วมดำเนินธุรกิจรีไซเคิลแฟรนไชส์ขนาดเล็ก จากความคิดริเริ่มของ ดร.สมไทย ปัจจุบันมีผู้สนใจเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ศูนย์รับซื้อขยะและรีไซเคิลขนาดเล็กถึง 1,160 ราย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการรีไซเคิลในประเทศและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย งานนี้ เราขอเชิญคุณมาร่วมเรียนรู้ว่า ดร.สมไทย สามารถสร้างธุรกิจนี้จากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ดร.ไมเคิล ไฮเด้
หัวหน้าฝ่ายด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิล แอลพลา กรุ๊ป ประเทศออสเตรีย
แอลพลา บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์ ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลและเศรษฐกิจหมุนเวียน ดร.ไมเคิลมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของบริษัทโดยการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ สำหรับการรีไซเคิลพลาสติก อีกทั้งยังเป็นผู้บริหารศูนย์แห่งความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลของบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิลทั่วโลก เพื่อต่อยอดจากพลาสติก PET ให้ครอบคลุมไปยังพลาสติก HDPE และฝาพลาสติก ในงานนี้ ดร.ไมเคิล จะมาร่วมแบ่งปันมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในอนาคต
พัชราภา รวิรุจิพันธุ์
ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท อังไถ่ จำกัด
อังไถ่ ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกมาตั้งแต่ปี 2550 โดยการนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมา upcycle และผลิตเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่มีราคาย่อมเยาสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนอน และยานยนต์ พัชรภาจะมาแบ่งปันเรื่องราวของผลิตภัณฑ์เส้นใยรีไซเคิล 100% ของอังไถ่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืน อันเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และบทบาทของอังไถ่ในการเป็นองค์กรตัวอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ ในไทยที่ต้องการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
วิเวกอนันต์ ซิสทลา
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาส่วนภูมิภาค - ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล และ Site Leader ยูนิลีเวอร์
ศ. ดร. ปราโมช รังสรรค์วิจิตร
ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินการอภิปราย
ดร. รีเบ็คก้า ซอมเมอร์ส
พาร์ทเนอร์ บริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด
แมคคินซี่แอนด์คอมพานี หรือ แมคคินซี่ บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก สหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรแนวหน้า ด้านการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ความต้องการด้านพลังงานชีวภาพที่สูงขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยในงานนี้ ดร.รีเบ็คก้า จากแมคคินซี่แอนด์คอมพานี ผู้รับผิดชอบด้านการปฏิบัติงานด้านเคมีภัณฑ์ของบริษัทฯ จะมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีชีวภาพทั่วโลก ในการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
เอียน เค. ดับบลิว. โต
ผู้อำนวยการด้านการค้า บริษัท เนเจอร์เวิร์คส์ จำกัด ประเทศสิงคโปร์
เอียน โต เป็นผู้รับผิดชอบด้านการปฏิบัติการเชิงพาณิชย์และการพัฒนาธุรกิจของเนเจอร์เวิร์คส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเนเจอร์เวิร์คส์ เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง GC และ Cargill ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบตั้งต้นที่มีจำนวนมากและสามารถนำกลับมาหมนุเวียนใช้ใหม่ได้ เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกแบบทั่วไป เอียน จะมาเล่าถึงขั้นตอนการผลิตพลาสติกชีวภาพจากทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้แบรนด์และธุรกิจต่างๆ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
สมศรี พาณิชย์รุ่งเรือง
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด
คุณสมศรี พาณิชย์รุ่งเรือง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด หรือ PTTMCC ผู้นำในการผลิตพลาสติกชีวภาพ BioPBS ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย แปซิฟิก คุณสมศรี เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยเคยดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการส่วนส่งออกถุง PE ที่บริษัท ทานตะวัน จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบการผลิตและจำหน่ายถุงพลาสติกเพื่อการส่งออกที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการส่วนที่บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบด้านการจำหน่ายและบริการลูกค้าในตลาดต่างประเทศทั่วโลกสำหรับตลาดเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีนชนิดความหนาแน่นสูงที่พัฒนาโดยมิตซุย เทคโนโลยี ในปี 2561 ดำรงตำแหน่ง Senior Vice President ฝ่ายขายต่างประเทศ ที่ บริษัท จีซี มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด เดิมชื่อ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โดยมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และแอฟริกา
ศาสตราจารย์ ดร. สุวบุญ จิรชาญชัย
คณบดี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ก่อตั้งขึ้นในปี 2531 เพื่อผลิตบุคคลากรที่มีมาตรฐานระดับสูงผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งในวันนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยจำนวนมาก ประสบความสำเร็จและเป็นผู้บริหารสำคัญในแวดวงปิโตรเคมีของประเทศ สำหรับ ศ.ดร. สุวบุญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีและอาจารย์ประจำวิทยาลัย อาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี โดยเฉพาะเรื่องพอลิเมอร์ชีวภาพ ซุปปราโมเลกุล พอลิเมอร์สังเคราะห์ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ พอลิเมอร์เมมเบรนเซลล์ และเชื้อเพลิง ซึ่งในงานนี้ ศ.ดร. สุวบุญ จะมานำเสนอมุมมองทางวิชาการในด้านการบูรณาการหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนกับอุตสาหกรรมและสังคมไทยเพื่อประโยชน์ของทุกคน
จิราพร ขาวสวัสดิ์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
คุณจิราพร ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการของ PTTOR ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการบัญชี การวางแผนกลยุทธ์ และธุรกิจน้ำมัน นับเป็นสุภาพสตรีคนแรกที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ คุณจิราพรได้บริหารองค์กรด้วยการปฏิบัติงานที่ยึดหลักความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความจริงใจ และความเข้าใจ ผสมผสานกับการบริหารแบบองค์รวมจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากตัวแทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมัน เพื่อนร่วมงาน และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ของบริษัทฯ โดยนับตั้งแต่ที่คุณจิราพรเข้ามารับตำแหน่ง ก็ได้นำพาองค์กรฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ด้วยความเข้มแข็งและมีทัศนคติที่ดี ส่งเสริมให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผลักดันให้แบรนด์กาแฟ 'คาเฟ่ อเมซอน' ขึ้นแท่นแบรนด์ระดับโลก
วรินทร อยู่วิมลชัย
General Director บริษัท ไบโอ-อีโค จำกัด
ด้วยความเชื่อที่ว่า "การใช้ชีวิตแบบอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ใช่เรื่องที่ยาก" วรินทร (เจนนี่) กรรมการผู้จัดการของบริษัท จึงได้ร่วมงานกับบริษัท ไบโอ-อีโค จำกัด สตาร์ทอัพที่หวังสร้างโลกให้ปลอดจากขยะพลาสติก โดยไบโอ-อีโค เป็นบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่นำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ 100% ทำจากมันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคและบริโภคและอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร ในงานนี้ คุณเจนนี่จะมาบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้นพบวัสดุที่ "ใส่ใจโลก" ทางเลือกในการทดแทนการใช้พลาสติกในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริโภคเพียงเล็กน้อย ที่สามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ให้กับสิ่งแวดล้อมและคนรุ่นหลังได้
กิตติโชติ มุสิกะภุมมะ
Division Manager, Corporate Affairs Division Manager, PTT Global Chemical Plc., Thailand
ผู้ดำเนินการอภิปราย
จารุพัชร อาชวะสมิต
อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาจารย์และนักออกแบบจากแบรนด์ Asura Surface พัฒนาผ้าจากวัสดุทางเลือก
นักออกแบบและพัฒนาผืนผ้าจากวัสดุทางเลือกภายใต้แบรนด์ Ausara Surface ผู้รักการทดลองหาความเป็นไปได้ในการนำวัสดุเหลือใช้เหลือทิ้ง กลับมาใช้ใหม่ และร่วมมือกับองค์กรและมูลนิธิต่างๆ ในการนำความรู้เข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี
ลูคัส โฮกส์
ผู้จัดการฝ่ายการเติบโตเชิงกลยุทธ์ ดีเอสเอ็ม ไนอาก้า ประเทศเนเธอร์แลนด์
ลูคัส ได้นำประสบการณ์ที่สำคัญในการพัฒนากลยุทธ์บนพื้นฐานของหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในธุรกิจของ ดีเอสเอ็ม ไนอาก้า ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ 2 องค์กรด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชื่อมั่นและความฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยการคืนชีวิตใหม่ให้กับวัสดุต่างๆ โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งลูคัสจะมาเล่าถึงกระบวนการทำงานที่ทันสมัยและการออกแบบที่เรียบง่ายของของทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์ ดีเอสเอ็ม ไนอาก้า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่สมบูรณ์แบบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นหลักการพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
ทวี อนันตรัตน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
เบสท์ โพลิเมอร์ ผู้ผลิตพลาสติกคอมพาวด์รายใหญ่ของไทย ในฐานะผู้นำด้าน Upcycling โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่มีเอกลักษณ์อย่าง "พาเลทไม้เทียม" จากการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ คือ ขี้เลื่อยและเศษพลาสติก นำมาพัฒนาเป็นพาเลทไม้นวัตกรรมที่มีความแข็งแรง ปราศจากเสี้ยนและแมลงรบกวน ซึ่งคุณทวีจะมาแบ่งปันความคิดว่า หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ช่วยลดผลกระทบต่อโลกใบนี้ได้อย่างไร
ชเล วุทธานันท์
กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการด้านการออกแบบแบรนด์ PASAYA บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด
ชญาน์ จันทวสุ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต
ผู้อำนวยการ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาปนิกและหัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และหัวหน้าฝ่ายออกแบบของบริษัท โอซิสุ จำกัด (Osisu)
อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมอาคาร หัวหน้าฝ่ายออกแบบของ OSISU บริษัทออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมชั้นนำของไทย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) และหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จิรายุ ตั้งศรีสุข
นักแสดงไทย
ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นักแสดงผู้ได้รับฉายา "เจ้าชายแห่งวงการรีไซเคิล" จากการสร้างสรรค์เสื้อยืดดีไซน์ "Trash to Treasure" ร่วมกับ GC ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าแฟชั่น Upcycle ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เจมส์ (จิ) เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มองว่า ปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไขด้วยการนำพลาสติกกลับมารีไซเคิล ซึ่งเขาจะมานำเสนอประโยชน์ของการใช้ชีวิตแบบ Circular Living ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่
พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร
รองเจ้าอาวาส วัดจากแดง ประเทศไทย
พระนักพัฒนา สร้างคุณค่าจากขยะพลาสติกสู่จีวรรีไซเคิล
ต้นแบบพระสงฆ์ผู้ใช้คำสอนของพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะ ผ่านการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะครบวงจรด้วยความร่วมมือของวัดและชุมชน พร้อมนำร่องผลิตผ้าจีวรรีไซเคิลจากพลาสติกใช้แล้ว ที่ป้องกันแบคทีเรียได้ ผืนแรกของไทย นับเป็นอีกหนึ่งการสร้างสรรค์ที่ลงตัว ทั้งทางโลกและทางธรรม
สัมพันธ์ เณรรอด
ผู้ก่อตั้ง เอี่ยมดี รีไซเคิล ประเทศไทย
"เอี่ยมดีรีไซเคิล" ซาเล้งแนวคิดใหม่ที่บริการรับซื้อและจัดการขยะรีไซเคิลถึงบ้านตลอด 24 ชั่วโมง
อดีตโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ชื่อดัง ผู้ผันตัวสู่การทำธุรกิจ "เอี่ยมดีรีไซเคิล" ซาเล้งแนวคิดใหม่ ด้วยบริการรับซื้อและจัดการขยะรีไซเคิลถึงบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนการช่วยเหลือเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสให้มีรายได้ และยังสะท้อนถึงความเชื่อของเขาที่ว่า "ขยะไม่ได้เป็นเพียงแค่ของซื้อขายเท่านั้น แต่ขยะยังกลายเป็นโอกาสของผู้อื่นอีกด้วย" โดยสัมพันธ์จะมานำเสนอมุมมองที่น่าสนใจในการช่วยเหลือดูแลชุมชนและกลุ่มคนรากหญ้าให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พิพัฒน์ อภิรักษณ์ธนากร (ท๊อป) , ศิรพันธ์ วัฒนจินดา (นุ่น)
ผู้ก่อตั้งบริษัท คิดคิด จำกัด
สองนักแสดงที่เป็นทั้งหุ้นส่วนชีวิตและธุรกิจ จะร่วมนำเสนอมุมมองของไลฟ์สไตล์ในแบบ Circular Living ในการช่วยสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
สองนักแสดงที่เป็นทั้งหุ้นส่วนชีวิตและธุรกิจ ได้เริ่มเปิดร้านขายสินค้าในกรุงเทพฯ ที่ชื่อว่า "ECOSHOP" ในปี 2552 เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการออกแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การก่อตั้ง บริษัท คิดคิด จำกัด ที่มุ่งเน้นการนำความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนุ่นและท็อป จะร่วมนำเสนอมุมมองของไลฟ์สไตล์ในแบบ Circular Living ในการช่วยสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
พรพิมล ผู้พัฒน์
ผู้จัดการส่วนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ แผนก Design Solution บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
ผู้นำทีมในการออกแบบของแผนกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ของแสนสิริ และเป็นผู้ที่สนใจศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยและมองหาเทรนด์ใหม่ๆ
หญิงแกร่งแห่งวงการสถาปนิกและนักออกแบบ ผู้นำทีมในการออกแบบของแผนกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ของแสนสิริ และเป็นผู้ที่สนใจศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยและมองหาเทรนด์ใหม่ๆ ในการสร้างความสุขในการใช้ชีวิตที่ให้มากกว่าคำว่าที่พักอาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยคุณพรพิมลมีความคิดที่แตกต่างและโดดเด่นในการผสมผสานแนวคิด Circular Living กับการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวั
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นักสมุทรศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางทะเล
ผศ.ดร.ธรณ์ เป็นหนึ่งในนักสมุทรศาสตร์และนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีชื่อเสียงของไทย ผู้สร้างแรงผลักดันทางสังคมในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น การอนุรักษ์ทางทะเล การอนุรักษ์สัตว์ทะเล และการจัดการปัญหาขยะทางทะเล นอกจากจะเป็นอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยแล้ว ดร.ธรณ์ ยังมีบทบาทสำคัญในการร่วมกำหนดนโยบายและเป็นกระบอกเสียงของสังคมที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง รวมทั้งมีผลงานบทความและหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวนมาก ดร.ธรณ์ นับเป็นผู้มีอิทธิพลของไทยที่รณรงค์และกระตุ้นให้คนในสังคมหันมาตระหนักเรื่องสมดุลภาพของการบริโภค การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยงานนี้ ดร. ธรณ์ จะมานำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจเพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย
โสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์
Vice President, Corporate Communication & Branding, PTT Global Chemical Plc., Thailand
กิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์
Vice President, Downstream Market Development, PTT Global Chemical Plc., Thailand
ปราณี ภู่แพร
Vice President, Sustainability Management, PTT Global Chemical Plc., Thailand
คุณปราณี ภู่แพร ประธานกรรมการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านบริหารความยั่งยืน โดยคุณปราณีมีประสบการณ์ทำงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับกลุ่ม ปตท. และอุตสาหกรรมธนาคาร เป็นเวลา 25 ปี และด้านบริหารความยั่งยืนกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 3 ปี
สายัณห์ รุ่งเรือง
ประธานชุมชนเมืองบ้านวังหว้า (บ้านเอื้ออาทร) จังหวัดระยอง
เปรม พฤกษ์ทยานนท์
ผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิล และเจ้าของเพจ "ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป"
ผู้มีบทบาทในการชักชวนชุมชนต่างๆทั่วโลกให้หันมาจัดการกับวิกฤตการณ์ขยะพลาสติกบนโลก
วรกิจ เมืองไทย
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์มดี เซอร์วิส จำกัด
นายวรกิจ เมืองไทย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์มดี เซอร์วิส จำกัด เป็นผู้มีความชำนาญในด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการใช้งานในด้านต่างๆ ปัจจุบัน คุณวรกิจ ดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการทางการเกษตร เช่น การเก็บข้อมูลของกลุ่มเกษตรกร การจัดทำแผนที่การเกษตร การวางแผนการเพาะปลูก การกำหนดต้นทุนเบื้องต้น ระบบควบคุมการเพาะปลูก ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจวัดและรายงานผลในพื้นที่เพาะปลูก ระบบรายงานผลการเพาะปลูกและสถิติ และระบบ Digital marketing สำหรับการเกษตร นอกจากนี้ คุณวรกิจยังดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายจัดเก็บขยะชุมชน เช่น สมุดธนาคารขยะออนไลน์ ระบบจัดเก็บขยะชุมชนและรายงานผลข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และระบบ Business Matching ด้านการขนส่งขยะสู่ผู้ประกอบการ
Waste Runner (ORGAFEED)
โครงการแข่งขันสร้างโมเดล การจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านการลงมือทำจริง ในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกระเจ้า
GC ได้ร่วมมือกับโครงการ OUR Khung BangKachao จัดการแข่งขันสร้างโมเดลจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อเฟ้นหาผู้สนใจในการแก้ไขปัญหาขยะ มาระดมความคิด พัฒนาศักยภาพ ผ่านการแข่งขัน 100 วัน ภายใต้กิจกรรม Waste Runner 100 Days Challenge เพื่อนำไปสู่การต่อยอดให้เกิดธุรกิจต้นแบบด้านการจัดการขยะในพื้นที่ชุมชนต่อไปในอนาคต ผ่านการลงมือทำจริงในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า
Waste Runner (Trash)
โครงการแข่งขันสร้างโมเดล การจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านการลงมือทำจริง ในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกระเจ้า
GC ได้ร่วมมือกับโครงการ OUR Khung BangKachao จัดการแข่งขันสร้างโมเดลจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อเฟ้นหาผู้สนใจในการแก้ไขปัญหาขยะ มาระดมความคิด พัฒนาศักยภาพ ผ่านการแข่งขัน 100 วัน ภายใต้กิจกรรม Waste Runner 100 Days Challenge เพื่อนำไปสู่การต่อยอดให้เกิดธุรกิจต้นแบบด้านการจัดการขยะในพื้นที่ชุมชนต่อไปในอนาคต ผ่านการลงมือทำจริงในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า
Waste Runner (Zero Journey)
โครงการแข่งขันสร้างโมเดล การจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านการลงมือทำจริง ในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกระเจ้า
GC ได้ร่วมมือกับโครงการ OUR Khung BangKachao จัดการแข่งขันสร้างโมเดลจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อเฟ้นหาผู้สนใจในการแก้ไขปัญหาขยะ มาระดมความคิด พัฒนาศักยภาพ ผ่านการแข่งขัน 100 วัน ภายใต้กิจกรรม Waste Runner 100 Days Challenge เพื่อนำไปสู่การต่อยอดให้เกิดธุรกิจต้นแบบด้านการจัดการขยะในพื้นที่ชุมชนต่อไปในอนาคต ผ่านการลงมือทำจริงในชุมชนต้นแบบคุ้งบางกะเจ้า
นพเก้า สุจริตกุล
ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาเพื่อสังคมและสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดร. เจษฎา ศาลาทอง
อาจารย์ประจำ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินการอภิปราย
News and Insights